ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับความจริง กระบวนการ และจริยธรรม


ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับความจริง กระบวนการ และจริยธรรม

ความรู้เป็น 3 ลักษณะใหญ่ คือความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง และความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ  และความรู้ว่าสิ่งใดดี สิงใดไม่ดี

 ความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริงคือ  การรู้อะไร” และ “การรู้ว่าทำไม ประกอบด้วยข้อมูลข้อเท็จจริง ข้อมูลข่าวสาร  รายละเอียดของปรากฎการณ์ความเหมือน ความแตกต่าง  ความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์ และสาเหตุของปรากฎการณ์   เช่น รู้ว่ารัฐสภาไทยประกอบด้วยสมาชิกกี่คน มีกี่ประเภท เป็นหญิงกี่คน ชายกี่คน  มีอำนาจหน้าที่เหมือนกันและแตกต่างกันในเรื่องใดบ้าง  ทำไมประเทศไทยต้องมีรัฐสภา ทำไมสมาชิกบางคนทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล บางคนทำหน้าที่ไร้ประสิทธิผล  เป็นต้น  

ความรู้เชิงกระบวนการคือ การรู้ว่าทำอย่างไร เป็นความรู้ที่มีรากฐานจากการปฏิบัติและเกี่ยวข้องกับทักษะ เช่น การขับรถ  การเขียนบทความ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเขียนกฎหมาย  บ่อยครั้งที่ผู้คนจะไม่ตระหนักถึงความรู้ประเภทนี้   โดยส่วนใหญ่แล้วความรู้ทั้งสองแบบต่างเสริมซึ่งกันและกัน  เช่น ส.ส. รู้กระบวนการออกกฎหมายว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างและสามารถเขียนออกมาได้อย่างชัดเจน  แต่วิธีการในการผลักดันให้ร่างกฎหมายจนกระทั่งออกมาบังคับใช้นั้นเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและอ่อนไหว และเกี่ยวพันกับหลายฝ่าย จน ส.ส.ไม่สามารถเขียนออกมาเป็นรายละเอียดได้

ความรู้เชิงกระบวนการมีสามขั้นตอนคือ ขั้นตอนการรับรู้  ขั้นตอนการเชื่อมสัมพันธ์ และขั้นตอนอัตโนมัติ
 ขั้นตอนการรับรู้นั้น ปัจเจกบุคคลส่วนใหญ่ต้องไปเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา เช่น บุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์จะประสบกับปัญหาการพิมพ์ผิดอยู่บ่อยครั้ง หรือ นักศึกษาพยาบาลอาจประสบปัญหาการใช้วิธีการดูแลผู้ป่วยที่ผิดพลาดต้องคอยแก้ไข   การแสวงหาความรู้ในขั้นนี้ยังคงต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับความจริง ดังนั้น บุคคลอาจพบข้อเขียนประเภทรายการ ทำอย่างไร ในขั้นนี้
       ขั้นการเชื่อมโยง ความรู้เกี่ยวกับความจริงที่ได้รับการนำไปเชื่อมโยงกับการปฏิบัติอย่างราบรื่นมากขึ้น การปฏิบัติก็เป็นเป็นอิสระและมีความผิดพลาดน้อยลงกว่าขั้นแรก 
       และท้ายที่สุดคือขั้นอัตโนมัติ เป็นขั้นที่บุคคลสามารถใช้ทักษะได้อย่างชำนาญการ ดูกลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติและมีข้อผิดพลาดน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย

        ส่วนความรู้ทางจริยธรรม  เป็นความรู้ว่าการปฏิบัติแบบใดของมนุษย์เป็นสิ่งที่ควรทำ  การปฏิบัติใดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ   โดยรู้ว่าการกระทำของตนเองมีพื้นฐานจากเหตุผลจริยธรรมแบบใด เช่น  ทำเพราะต้องการให้เกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่   ทำเพราะเป็นหน้าที่    ทำเพราะความยุติธรรม  และทำเพราะเป็นสิทธิมนุษยชน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

ความผิดพลาดของมนุษย์ตามแนวคิดของ ฟรานซิส เบคอน

ความผิดพลาดของมนุษย์ : ชนเผ่า ถ้ำ ตลาด และโรงมหรสพ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะนี้  ยิ่งทำให้เห็นความจริงประการหนึ่งว่า ทะเลแห่งความมืดบอดของสังคมไทยนับวันจะขยายตัวออกไปมากขึ้น   และเกาะแห่งปัญญานับวันจะลดน้อยถอยลง  หากภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไปนานเท่าไร  ก็ยิ่งทำให้ทะเลแห่งความมืดบอดมีโอกาสกลืนกินเกาะแห่งปัญญาจนหมดสิ้นในไม่ช้า  ผมไปอ่านงานของนักปรัชญาท่านหนึ่ง  เห็นว่ามีความน่าสนใจโดยเฉพาะการวิเคราะห์เกี่ยวกับความผิดพลาดทางปัญญาและการให้เหตุผลของมนุษย์   ซึ่งทำให้เราต้องนำมาทบทวน ระมัดระวัง จะได้ไม่ตกอยู่ในความผิดพลาดนั้น   เพื่อจะได้พัฒนาปัญญาของตนเองให้กระจ่างชัด และมีหนทางในการนำพาสังคมให้หลุดพ้นจากทะเลแห่งความมืดบอดต่อไป ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาชาวอังกฤษซึ่งมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561 ถึง 1626   วิเคราะห์จำแนกสาเหตุของความผิดพลาดในการใช้เหตุผลของมนุษย์ออกเป็นสี่แบบ  ได้แก่ ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของชนเผ่า ( Idols of the Tribe)    ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของถ้ำ ( Idols of the Cave)   ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของตลาด (Idols of the Market-place)   และความผิดพลาด

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั