ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2012

สถานการณ์ต่อสู้ในบางมิติ

สถานการณ์การต่อสู้ในบางมิติ 1.  การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร กองกำลังภาคประชาชนที่นำโดยพันธมิตร ยังคงมีความเหนียวแน่นและยืนหยัดด้วยจิตใจนักต่อสู้ มีวินัยในการเคลื่อนไหวสูง. มีจังหวะก้าวชัดเจน  แกนนำกุมสภาพได้ มีประสบการณ์การสูงในการเคลื่อนไหว มีการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย ยืดหยุ่น และที่สำคัญแกนนำกับมวลชนเป็นหนึ่งเดียวกัน.  พันธมิตรจึงเป็นพลังหลักในการยับยั้ง ขับไล่ และขจัด ทักษิณและเหล่านักการเมืองทุนสามานย์. 2 กลุ่มเสื้อหลากสี มวลชนไม่มากนัก แต่แกนนำกุมสภาพมวลชนได้เพียงบางส่วน  มีบางส่วนอาจใจร้อนและหวังผลโดยเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดหมายได้. ดังนั้นแกนนำควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น 3 มวลชน ปชป.  กลุ่มสายล่อฟ้า ปชป ประกาศให้มวลชนตนเองออกมาชุมนุมอย่างเต็มตัวและเป็นทางการ. เนื่องจากสองวันที่ผ่านมา ประสบกับทางตันต่อการทำหน้าที่ในสภา.   ส.ส.  ปชป.  ใช้ชื่อกลุ่มมวลชนของตนเองว่่าสายล่อฟ้า 3.1ผู้สนับสนุน ปชป.  ในกทม. ที่จะเดินออกมาสู่ท้องถนน อาจมีจำนวนไม่มากนัก 3.2 หากต้องการคนจำนวนมาก. ส.ส.  ปชป.  ก็คงต้องใช้แนวทางเดียวกับที่ นักการเมืองของเพื่อไทย ใช้ในการจัดการให้มวลชนเสื้อแดง

พลเเอกสนธิ เอกบุรุษผู้ทำลาย 3 อำนาจอธิปไตย

พลเอกสนธิ เอกบุรุษผู้ทำลาย 3 อำนาจอธิปไตย.  แต่ปริศนาคือ ทำเองหรือตกเป็นเครื่องมือ พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่ขจัดรัฐบาลทักษิณพ้นจากอำนาจในปี 2549. การรัฐประหารครั้งนั้นนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดครั้งแรกของพลเอกสนธิ. เพราะ 1. เป็นการขัดขวางพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. โดยที่ตนเองก็ปราศจากเจตจำนงค์ทางการเมืองใดๆในการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยให้ดีขึ้น. จึงเป็นการรัฐประหารแบบลวกๆดิบๆสุกๆ หรือ สุกเอาเผากิน.  เหตุผลที่อ้างในการทำรัฐประหาร ไม่มีเรื่ิองใดเลยที่ได้รับการดำเนินการต่อเนื่องและจริงจัง 2 เป็นต้นเหตุในการสร้างขบวนการทางการเมืองแบบอนาอุปถัมภ์ธิปไตย ขึ้นมาของ กลุ่มคนเสื้อแดง. และทำให้บ้านเมืองต้องประสบกับความวุ่นวายสับสน.  เกิดจลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมืองหลายครั้งหลายหน. เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องตายพิการและบาดเจ็บ ทั้งยังทำให้สถาบันหลักของบ้านเมืองถูกคุกคามอย่างหนักหน่วง. อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน. รวมทั้งเกิดความเสียหายในกระบวนการยุติธรรมอย่างรุนแรง ความเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมาพลเอกสนธิ เป็นผู้มีส่วนร่วมที่สำคัญมากผู้หนึ่งใ

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต " การสร้างความคิดเชิงวิพากษ์และพลเมืองที่มีคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย"

การสร้างความคิดเชิงวิพากษ์และพลเมืองที่มีคุณภาพในระบอบประชาธิปไตย พิชาย รัตนดิลก   ณ ภูเก็ต ความล้มเหลวประการหนึ่งของสังคมไทยคือการขาดความสามารถในการสร้างและพัฒนาประชาชนพลเมืองได้อย่างมีคุณภาพ   โดยเฉพาะคุณภาพของระบบคิด     เราจึงมีบุคคลจำนวนมากที่คิดสั้น คิดตื้น คิดเข้าข้างตนเอง คิดเอาแต่ประโยชน์   และคิดว่าตนเองถูกตลอด   ความคิดเหล่านี้ย่อมไม่ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตย และเป็นรากฐานนำไปสู่การกระทำที่สร้างความเสียหายให้กับสังคมได้อย่างมหาศาล พลเมืองที่มีคุณภาพในระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นพลเมืองที่มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนโยบายและประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง   เพื่อว่าจะได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในการอภิปรายและการตัดสินใจเชิงนโยบาย    คุณสมบัติหลักของพลเมืองที่มีคุณภาพอีกประการหนึ่งคือการมีระบบคิดที่ดีซึ่งสามารถจำแนกแยกวิเคราะห์แยกแยะปรากฏการณ์ และนำเสนอเหตุผลที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงรูปธรรมอย่างสมเหตุสมผล     สังคมไทยดูเหมือนมีพลเมืองที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ไม่มากนัก   พลเมืองไทยจำนวนมากยังเชื่อในสิ่งที่ตนเองรับรู้อย่างงมงาย โดยขาดการไตร่ตรองในเชิงเหตุผ
รศ. ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต วิกฤติความไว้วางใจ เงื่อนไขที่ทำให้ให้ปัจเจกบุคคล ชุมชน องค์การ สังคม และประเทศประสบความสำเร็จและมีการพัฒนาที่ต่อเนื่องยั่งยืน รวมทั้งมีความปรองดองสมานฉันท์อาจมีหลายเงื่อนไข   แต่มีเงื่อนไขหนึ่งที่นักวิชาการสังคมศาสตร์หลากหลายสาขาซึ่งทำการวิจัยได้พบร่วมกันว่าเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นและสำคัญ นั่นคือ “ความไว้วางใจ” ความไว้วางใจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนตลอดเวลา  ทั้งในด้านคุณภาพของความสัมพันธ์  การสื่อสาร  การพัฒนาประเทศ  การดำเนินงานโครงการต่างๆ การตกลงในเชิงธุรกิจ การดำเนินงานทางการเมือง และมิติอื่นของชีวิตที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ความไว้วางใจมิใช่สิ่งที่เป็นมายาคติหรือภาพลวงตาเชิงนามธรรมที่ล่องลอยในจินตนาการของผู้คน   ในทางตรงกันข้ามความไว้วางใจเป็นพลังอำนาจที่ดำรงอยู่จริงซึ่งมีพลังขับเคลื่อนทิศทางความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้คน ทั้งในทางที่สร้างสรรค์ และในทางที่ทำลายล้างหากใช้ในทางที่ผิด ความไว้วางใจมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการคือ ความซื่อสัตย์มั่นคงในหลักการ( integrity)   ความตั้งใจ (intent)   สมรรถภาพ( capability) และผลลัพธ์
รศ. ดร. พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สัญญาณแห่งการล่มสลายของสังคม ห ากมองย้อนไปในประวัติศาสตร์อย่างพินิจพิจารณา  แบบแผนปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมและอารยธรรมของมนุษย์คือ การก่อเกิด การเติบโต ความรุ่งเรือง การเสื่อมโทรม และการล่มสลาย  แน่นอนว่าผู้คนส่วนมากในแต่ละสังคมย่อมต้องการให้สังคมของตนเองเติบโตและรุ่งเรืองตลอดกาล  พวกเขาพยายามรักษาสภาพดังกล่าวไว้โดยใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลและยุทธศาสตร์ที่หลากหลาย  หลายแห่งประสบความสำเร็จ แต่อีกหลายแห่งกลับล่มสลาย   ทำไมความหายนะจึงมาเยือนสังคมเหล่านั้น    คำตอบที่น่าสนใจอยู่ในงานวิจัยของ จาเร็ด ไดมอนด์  ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลลิส จาเร็ด ไดมอนด์ ได้จำแนกการเกิดขึ้นของความหายนะออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่  ในขั้นแรกกลุ่มคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีบทบาทหลักในสังคมไร้ความสามารถในการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าได้   ในขั้นที่สอง เมื่อปัญหาเกิดขึ้น กลุ่มเหล่านั้นก็หาได้ตระหนักถึงความสำคัญของสัญญาณที่กำลังคุกคามความอยู่รอดของสังคมแต่ประการใด   ขั้นที่สาม แม้จะรู้และตระหนักถึงปัญหา แต่พวกเขาก็ไม่พยายามลงมือแก้ปัญหาเหล่านั้น  และขั้นที่สี่ 

เปิดโฉมหน้า 7 นักการเมืองน้ำเน่า

เปิดโฉมหน้า 7 นักการเมืองน้ำเน่า มีผู้คนจำนวนมากคาดหวังว่าการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554   เป็นการเลือกตั้งที่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ระหว่างการเมืองน้ำเน่าย่ำอยู่กับที่ กับการเมืองที่แสวงหาทางออกให้กับสังคมไทย    แต่เมื่อพิจารณากลุ่มผู้สมัคร ส.ส. หรือ นักการเมืองที่เสนอหน้าให้ประชาชนเลือก   ความหวังของผู้คนเหล่านั้นคงเป็นความฝันที่ไม่อาจเป็นจริงได้ กล่าวได้ว่าบรรดานักการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งเกือบทั้งหมดเป็นนักการเมืองน้ำเน่า   เน่าเสียจนกระทั่งกลิ่นที่กระจายออกมาไม่เพียงแต่อบอวลอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น   แต่ยังกระจายไปสู่สังคมโลกด้วย นักการเมืองน้ำเน่า คือนักการเมืองผู้มีวิธีคิดที่ต้องการได้ตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองมาให้ได้โดยไม่คำนึงถึงวิธีการ   นักการเมืองน้ำเน่าจะใช้ทุกวิธีการที่ชั่วร้าย ผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรมเพื่อให้ตนก้าวสู่การเป็นรัฐบาล      เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วนักการเมืองน้ำเน่าก็จะใช้วิธีการต่างๆนาๆในการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ตลอดจนรักษาอำนาจของตนเองให้ยาวนานที่สุดเท่าที่จะทำได้      ความเน่าเหม็นของนักการเมืองเหล่านี้แสดงออกมาให้เห็นได้อย่