สถานการณ์การต่อสู้ในบางมิติ
1. การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตร
กองกำลังภาคประชาชนที่นำโดยพันธมิตร ยังคงมีความเหนียวแน่นและยืนหยัดด้วยจิตใจนักต่อสู้ มีวินัยในการเคลื่อนไหวสูง. มีจังหวะก้าวชัดเจน แกนนำกุมสภาพได้ มีประสบการณ์การสูงในการเคลื่อนไหว มีการใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย ยืดหยุ่น และที่สำคัญแกนนำกับมวลชนเป็นหนึ่งเดียวกัน. พันธมิตรจึงเป็นพลังหลักในการยับยั้ง ขับไล่ และขจัด ทักษิณและเหล่านักการเมืองทุนสามานย์.
2 กลุ่มเสื้อหลากสี
มวลชนไม่มากนัก แต่แกนนำกุมสภาพมวลชนได้เพียงบางส่วน มีบางส่วนอาจใจร้อนและหวังผลโดยเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดหมายได้. ดังนั้นแกนนำควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
3 มวลชน ปชป. กลุ่มสายล่อฟ้า
ปชป ประกาศให้มวลชนตนเองออกมาชุมนุมอย่างเต็มตัวและเป็นทางการ. เนื่องจากสองวันที่ผ่านมา ประสบกับทางตันต่อการทำหน้าที่ในสภา. ส.ส. ปชป. ใช้ชื่อกลุ่มมวลชนของตนเองว่่าสายล่อฟ้า
3.1ผู้สนับสนุน ปชป. ในกทม. ที่จะเดินออกมาสู่ท้องถนน อาจมีจำนวนไม่มากนัก
3.2 หากต้องการคนจำนวนมาก. ส.ส. ปชป. ก็คงต้องใช้แนวทางเดียวกับที่ นักการเมืองของเพื่อไทย ใช้ในการจัดการให้มวลชนเสื้อแดงมาชุมนุมในกรุงเทพ
3.3 พรรค ปชป. ชักชวนคนมา โดยไม่ยังไม่ชัดเจนว่า จะให้ใครเป็นแกนนำมวลชน เพราะตัวหลักที่พอจะพูดจากับมวลชนได้ และมีประสบการณ์ด้านมวลชนอยู่พอสมควร อย่างวัชระ หรือเทพไท ก็ต้องไปทำหน้าที่ในสภา. นอกจากจะมีการเปลี่ยนแปลง
3.4 หากนัดมวลชนมา โดยขาดความชัดเจน อาจทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเหตุไม่คาดหมายได้เช่นเดียวกัน. ดังนั้นหาก ปชป. จะเคลื่อนไหวมวลชน ก็ควร จัดตั้งแกนนำมวลชนให้รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง. และอยู่กับมวลชนในเวทีนอกสภาตลอดเวลา
4. สำหรับมวลชนลัทธิแดง มีจำนวนไม่น้อยที่กระเหี้ยนกระหือรือ เข้าร่วมการชุมนุมด้วย แต่จะเป็นการชุมนุมเพื่อสนับสนุนรัฐบาลและร่าง พ.ร.บ. ปรองดอง เป็นหลัก หรือ อาจอยากจะเข้ามาก่อกวนการชุมนุมของภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ. ส่วนเสื้อแดงในสังคมออนไลด์ ที่ไม่เห็นด้วยกับร่่าง พ.ร.บ. ปรองดอง ไม่ค่อยมีน้ำยาอะไรมากนัก.
5. ส.ส. ทาสทักษิณ คงจะทำตามคำสั่งอย่างแข็งขัน. ดึงดันให้มีการรับร่างพ.ร.บ.ปรองดองในวาระแรกให้ได้ในสมัยประชุมนี้. โดยไม่แยแสว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้างกับบ้านเมือง
6 หากภาคประชาชนสามารถใช้ยุทธวิธีที่มีแนวโน้มว่าจะยับยั้ง พ.ร.บ. ปรองดองได้สำเร็จ. รัฐบาลและทักษิณ อาจหน้ามืดสั่งกองกำลังตำรวจคอมมานโดเข้าปราบปรามประชาชนอย่างรุนแรง
7 หากรัฐบาลและทักษิณ ทำแบบนั้น สิ่งที่ตามมา ก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะนำไปสู่การสิ้นสุดของระบอบเผด็จการทุนสามานย์
วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2
บทวิจารณ์หนังสือ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE จำนวน 208 หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก ในปี 1967 Glaser และ Strauss ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง การวิจัยเชิงคุณ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น