ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2012

ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อขับเคลื่อนองค์การ

การเมืองไทยแห่งยุคระยะเปลี่ยนผ่าน: 2 ชนชั้น 2 ขั้วจุดยืน 3 กลุ่มพลัง และ5 อุดมการ

การเมืองไทยแห่งยุคระยะเปลี่ยนผ่าน : 2 ชนชั้น 2 ขั้วจุดยืน 3 กลุ่มพลัง  และ5 อุดมการณ์ [1] พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สังคมไทยมีระยะการเปลี่ยนผ่านหลายครั้ง ทุกครั้งที่เกิดห้วงเวลาเช่นนี้ขึ้นมาความสับสนไม่มั่นคงทางสังคม และความหวังก็เกิดขึ้น  หากนับตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา  ซึ่งเกิดการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่จากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เพื่อหวังว่าจะเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ท้ายที่สุดกลับกลายเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบขุนนาง และจบลงด้วยระบอบเผด็จการทหารในพ.ศ. 2501      ระยะการเปลี่ยนผ่านในครั้งที่สองเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2516  ความคาดหวังก็เป็นเฉกเช่นเดียวกับครั้งแรกคือประชาชนต้องการเปลี่ยนจากระบอบเผด็จการทหาร ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย  แต่กลับจบลงด้วยระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ และต่อด้วยระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มนายทุนท้องถิ่นในระยะสั้นๆ    ครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2535  ประชาชนผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงคาดหวังจะสามารถสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ซึ่งดูเหมือนฝันจะใกล้ความเป็นจริงเมื่อสามารถผลักดันให้เกิดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ขึ้นมาได้  แต่
วัฒนธรรมการเมือง : โครงสร้างความคิดเชิงปฏิบัติการเลือกตั้ง พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต บทคัดย่อ บทความนี้เป็นการทำความเข้าใจวัฒนธรรมทางการเมืองและการเลือกตั้ง โดยใช้แนวทางการการศึกษาเชิงการตีความ เพื่อค้นหาความปรารถนาและความเชื่อในเชิงโครงสร้างความคิดเชิงปฏิบัติการทางการเมืองและการเลือกตั้งของผู้เลือกตั้งไทย    ภาพที่สะท้อนจากการตีความความเป็นจริงของสังคมและการเมืองไทยคือความเป็นทวิภาวะของวัฒนธรรมการเมืองซึ่งแสดงออกผ่านโครงสร้างทางความคิดเชิงการปฏิบัติการเลือกตั้งและอาณาบริเวณทางการเมืองอื่นนอกเหนือจากปริมณฑลการเลือกตั้งของชาวบ้านและชนชั้นกลาง  ชาวบ้านมีโครงสร้างความคิดเชิงปฏิบัติการเลือกตั้งภายใต้รากฐานของระบบคุณค่าเชิงอำนาจ-สังคม และมูลค่าทางเศรษฐกิจ และใช้การเลือกตั้งเป็นวิธีการในการรักษาสิ่งทั้งสองไว้   ขณะที่ชนชั้นกลางมีโครงสร้างทางความคิดเชิงปฏิบัติการทางการเมืองและการเลือกตั้งภายใต้ความเชื่อของระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกและการมีความปรารถนาที่จะได้รัฐบาลซึ่งบริหารประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและซื่อสัตย์  แต่การเลือกตั้งไม่สามารถตองสนองความปรารถนาของชนชั้นกลางได้ทั้งหมด  ดังนั