ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2016
บทวิจารณ์หนังสือ ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตาย และการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการ วิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ได้จำนวนมาก  ------------------------------    รายละเอียดในรูปแบบ  PDF  อ่านได้ตาม Link ครับ วิจารณ์หนังสือทฤษฎีฐานราก

ปัญหาและความท้าทายของการศึกษาไทย

ปัญหาและความท้าทายของการศึกษาไทย พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                      ปัญหาและความท้าทายของการศึกษาไทย  เราจะผ่านพ้นวิกฤติคุณภาพการศึกษาไปได้อย่างไร  เพื่อนๆเข้าไปอ่านได้ตาม link นี้ครับ                                     http://www.slideshare.net/phichai008/ss-69584029

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย ทำไมรัฐบาลล้มเหลวบ่อยครั้ง

ทำไมรัฐบาลล้มเหลวบ่อยครั้ง พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต บทความเรื่องนี้มีห้าตอน ตีพิมพ์ในผู้จัดการออนไลน์และผู้จัดการสุดสัปดาห์ช่วง 16 กันยายน 2559 ถึง 14 ตุลาคม 2559   ปัญญาพลวัตรผู้จัดการออนไลน์ 16 กันยายน 2559        โดย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต              พอดีได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ “Why Government Fails So Often” ซึ่งเขียนโดย ศาสตราจารย์ Peter H. Schuck แห่งมหาวิทยาลัย Yale หนังสือเล่มนี้วิเคราะห์สาเหตุความล้มเหลวของนโยบายรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้อย่างน่าสนใจ ผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับรัฐบาลไทยที่จะนำมาเป็นบทเรียน เลยสรุปสาระสำคัญเอาไว้อย่างย่อๆ และผสมผสานกับความคิดของตนเองบางเรื่องที่เชื่อมโยงกับบริบทของสังคมไทย              บทความนี้อาจจะมีหลายตอนสักหน่อยนะครับเพราะว่าศาสตราจารย์ Peter Schuck ท่านวิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาล้มเหลวอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เราจะเริ่มจากสาเหตุด้านแรงจูงใจกันก่อนว่าส่งผลให้นโยบายล้มเหลวอย่างไร โดยวิเคราะห์ถึงแรงจูงใจของกลุ่ม 3 กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย คือ ผู้กำหนดนโยบาย พลเมืองสามัญ และกลุ่มที่ผลประโยชน์อาจได้รับผลกระทบ

ปรัชญาสังคมศาสตร์

ปรัชญาสังคมศาสตร์ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พิมพ์ครั้งที่ ๒   จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์               การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นการเดินทางที่ผู้เขียนเองมิอาจกำหนดเนื้อหาและ จุดหมายปลายทางล่วงหน้าที่ชัดเจนได้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอระหว่างกระบวนการเขียน จวบจนถึง ณ จุดหนึ่งของเวลาที่จำเป็นจะต้องเขียนให้จบลง ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขประการใด ก็ตาม เรื่องราวต่างๆ จึงถูกประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่าง แต่ความท้าทายต่างๆก็ยังดำรงอยู่อย่าง ไม่จบสิ้น               ในการเขียนตำราเรื่องปรัชญาสังคมศาสตร์: การอธิบายสังคม รากฐานสำหรับการวิจัย ทางสังคม ผู้เขียนได้รับทุนจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การเขียนโดยรับทุนมีข้อดีที่สำคัญคือ มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้จบ ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ต้องลงมือเขียนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความโกลาหลของงานอื่นๆ อีกนานาประการ ภายใต้เงื่อนไขเหล่านั้นหากไม่มีเส้นปลายทางที่ชัดเจนก็อาจทำให้งานเขียน ยากแก่การบรรลุได้ เพราะว่ามีเรื่