ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปรัชญาสังคมศาสตร์

ปรัชญาสังคมศาสตร์

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
พิมพ์ครั้งที่ ๒  
จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
และศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

              การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นการเดินทางที่ผู้เขียนเองมิอาจกำหนดเนื้อหาและ
จุดหมายปลายทางล่วงหน้าที่ชัดเจนได้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอระหว่างกระบวนการเขียน
จวบจนถึง ณ จุดหนึ่งของเวลาที่จำเป็นจะต้องเขียนให้จบลง ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขประการใด
ก็ตาม เรื่องราวต่างๆ จึงถูกประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่าง แต่ความท้าทายต่างๆก็ยังดำรงอยู่อย่าง
ไม่จบสิ้น
              ในการเขียนตำราเรื่องปรัชญาสังคมศาสตร์: การอธิบายสังคม รากฐานสำหรับการวิจัย
ทางสังคม ผู้เขียนได้รับทุนจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การเขียนโดยรับทุนมีข้อดีที่สำคัญคือ มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้จบ
ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ต้องลงมือเขียนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความโกลาหลของงานอื่นๆ
อีกนานาประการ ภายใต้เงื่อนไขเหล่านั้นหากไม่มีเส้นปลายทางที่ชัดเจนก็อาจทำให้งานเขียน
ยากแก่การบรรลุได้ เพราะว่ามีเรื่องราวต่างๆเหลือคณานับที่เข้ามากระทบรบกวนความตั้งใจ
ในการเขียนอยู่เสมอ

             ตำราเล่มนี้มีบท 8 บท บทที่ 1 เป็นเรื่องข้อถกเถียงของความเป็นศาสตร์และ
ความเป็นไปได้ของกฎและทฤษฎีในสังคมศาสตร์ รวมทั้งอธิบายถึงภววิทยา ญาณวิทยา
ระเบียบวิธีวิทยา และกระบวนทัศน์ในปรัชญาของสังคมศาสตร์ 

            บทที่ 2 เป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการอธิบายเชิงสาเหตุ ลักษณะความเป็นสาเหตุ ประเภทของการอธิบายเชิงสาเหตุ
ทั้งแบบนิรนัย และอุปนัย รวมทั้งเงื่อนไขที่จำเป็นและเพียงพอต่อการเป็นสาเหตุ ตลอดจน
การอภิปรายข้อถกเถียงทางปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายเชิงสาเหตุประเภทต่างๆ 

            บทที่ 3 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการอธิบายทางเลือกเชิงเหตุผล มีตัวแบบที่เกี่ยวข้องกับการอธิบาย
หลากหลายตัวแบบ เช่น การอธิบายเชิงผลรวม ทฤษฎีทางเลือกเชิงเหตุผล ทฤษฎี
ความน่าจะเป็น และทฤษฎีสินค้าสาธารณะ การใช้เหตุผลเชิงยุทธศาสตร์และทฤษฎีเกม
ปมปัญหาของนักโทษ การเชื่อมโยงระหว่างการมีเหตุผลของปัจเจกบุคคลกับทฤษฎีการ
กระทำร่วม การวิพากษ์เหตุผลเชิงเศรษฐกิจ และเหตุผลเชิงพุทธิปัญญา 

         

  บทที่ 4 เป็นการอธิบายเชิงโครงสร้างและหน้าที่ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการอธิบายแบบหน้าที่ในฐานะที่เป็นสาเหตุ 
และจุดอ่อนที่เกิดขึ้นจากการอธิบายแบบหน้าที่ ในด้านการอธิบายเชิงโครงสร้างนั้นมีทั้งแบบโครงสร้างที่ 
เป็นสาเหตุซึ่งมีการเชื่อมโยงกระบวนการเกิด ดำรงอยู่และเปลี่ยนแปลงปรากฏการณ์สังคม และ
การอธิบายโครงสร้างแบบที่ไม่ใช่สาเหตุ ซึ่งทำให้เห็นองค์ประกอบของความสัมพันธ์เชิงองค์รวม
ของปรากฏการณ์และการเห็นความจริงในอีกมิติหนึ่ง 
         
  บทที่ 5 เป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ศาสตร์แห่งการตีความทั้งในแง่พัฒนาการของการใช้ศาสตร์แห่งการตีความ จากการเน้นตัวบทในคัมภีร์ศาสนา ไปสู่ตัวบทเรื่องภาษา และตัวบทในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ทั้งยัง
พิจารณาประเด็นฐานคติของการตีความเกี่ยวกับสังคมและมนุษย์ ตลอดจนถึงแนวทางและ
ตัวแบบการตีความต่างๆ ที่นำมาใช้ในการอธิบายสังคม เช่น ตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ และตัวแบบ
เชิงการละคร เป็นต้น 
บทที่ 6 เป็นการนำมาสู่ปรัชญาสัจนิยมวิพากษ์ซึ่งเป็นปรัชญาที่พัฒนา
ขึ้นมาจากความเสื่อมของปรัชญาปฏิฐานนิยมแบบดั้งเดิม โดยมีการยอมรับว่าความเป็นสากล
ทางภววิทยาของศาสตร์ต่างๆ เป็นไปได้ยาก แต่ทว่ายังมีความหวังสำหรับจุดร่วมกันในเรื่อง
ญาณวิทยาและวิธีวิทยาในการศึกษาแสวงหาความรู้ของมนุษย์

         บทที่ 7 เป็นทฤษฎีวิพากษ์ซึ่งเริ่มต้นจากการวิพากษ์ปฏิฐานนิยมทั้งในเชิงภววิทยา ญาณวิทยา และวิธีวิทยา และความเป็นเหตุผลที่ขับเคลื่อนโลกสมัยใหม่ รวมทั้งเสนอสิ่งสำคัญแก่โลกทางวิชาการนั่นคือ เป้าหมาย
การศึกษามิใช่มุ่งเพื่ออธิบายและเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมเท่านั้น หากยังต้องเปลี่ยนแปลง
สังคมและปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระด้วย 

        บทที่ 8 เป็นการนำเสนอปรัชญาปฏิบัตินิยม
หลังโครงสร้างนิยม และหลังนวสมัยนิยม ปรัชญาปฏิบัตินิยมนั้นเห็นว่า ทัศนะการมองทฤษฎี
แบบกระจกสะท้อนปรากฏการณ์ทางสังคม ซึ่งนักวิจัยมีฐานะเป็นผู้สังเกตการณ์ไม่เหมาะสม
สำหรับการวิจัยทางสังคม การวิจัยทางสังคมควรเน้นรูปแบบของการปฏิบัติและในฐานะที่มี
ความตื่นตัว พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ และเชื่อว่าความรู้มีความเชื่อมโยง
กับประโยชน์เชิงพุทธิปัญญา 
        
          ส่วนหลังโครงสร้างนิยมและหลังนวสมัยนิยม มุ่งเน้นการทำลาย
มายาคติของการอธิบายขนาดใหญ่หรือความหมายอันเป็นสากลของแนวคิดต่างๆที่ครอบงำ
สังคม โดยการถอดรื้อและใช้แนวทางแบบวงศาวิทยาเพื่อทำให้เกิดมุมมองใหม่และความเข้าใจ
ใหม่ต่อความหมายและปรากฏการณ์ต่างๆ อันเป็นการสร้างพื้นที่ให้กับสิ่งที่เคยถูกปิดกั้นหรือ
กดทับ ได้มีพื้นที่ทางวิชาการและสังคมมากขึ้น

           ตำราเล่มนี้ประสบความสำเร็จลงได้ด้วยการสนับสนุนและการให้ข้อคิดเสนอแนะจาก
เพื่อนๆนักวิชาการ และนักศึกษาปริญญาเอกของคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมหลายท่าน
ซึ่งมีส่วนร่วมในการอ่านร่างแรกๆ ของตำราเล่มนี้ ผู้เขียนจึงขอขอบคุณทุกท่านในโอกาสนี้ด้วย














สารบัญ
บทที่ 1 ปรัชญาสังคมศาสตร์และกระบวนทัศน์ในการแสวงหาความรู้
บทนำ  
ลักษณะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ 
การวิพากษ์ความเป็นกฎและทฤษฎีของสังคมศาสตร์ 
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับสภาวะก่อนมีกระบวนทัศน์ 
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา 
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการปลอดค่านิยมในการศึกษา 
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสามารถในการทำนาย 
ภววิทยาของปรัชญาสังคมศาสตร์ 
ญาณวิทยา 
การใช้เหตุผลที่ชอบธรรม 
โครงสร้างของความรู้และการตัดสินความชอบธรรม 
แหล่งของความรู้และการตัดสินความชอบธรรม 
ข้อจำกัดของความรู้และการตัดสินความชอบธรรม 
จุดยืนทางญาณวิทยา 
วิธีวิทยา 
กระบวนทัศน์ในการแสวงหาความรู้ 
สรุป  
บรรณานุกรม 
บทที่ 2 การอธิบายเชิงสาเหตุ
บทนำ 
ลักษณะทั่วไปของสาเหตุ 
ประเภทของการอธิบายเชิงสาเหตุ 
การอธิบายกลไกเชิงสาเหตุ 
ความเป็นไปได้ของตัวแบบการอธิบายของ แฮมเพล 
กับการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม
การอธิบายเชิงแบบแผนอุปนัย 
การสร้างมนโนทัศน์ในการอธิบายสังคมจากวิธีการอุปนัย 
ความผิดพลาดของการอุปนัย 
เงื่อนไขที่เพียงพอและจำเป็น 
รูปแบบของการให้เหตุผลเชิงสาเหตุ 
กรณีศึกษา 
วิธีการเปรียบเทียบ 
วิธีการของมิลล์ 
สรุป 
บรรณานุกรม 
บทที่ 3 การอธิบายแบบทางเลือกเชิงเหตุผล
บทนำ 
รากฐานทางความคิดของทฤษฎีทางเลือกเชิงเหตุผล 
ทฤษฎีการตัดสินใจ 
แนวคิดอรรถประโยชน์ 
แนวคิดความน่าจะเป็น 
กฎการตัดสินใจ 
การใช้เหตุผลเชิงยุทธศาสตร์และทฤษฎีเกม 
ปมปัญหาของนักโทษ 
การเชื่อมโยงระหว่างการมีเหตุผลของปัจเจกบุคคลกับทฤษฎีการกระทำร่วม 
การวิพากษ์เหตุผลเชิงเศรษฐกิจ 
เหตุผลเชิงพุทธิปัญญา 
สรุป 
บรรณานุกรม 
บทที่ 4 การอธิบายเชิงหน้าที่และโครงสร้าง
บทนำ 
การอธิบายเชิงหน้าที่ 
การอธิบายเชิงหน้าที่ในสังคมศาสตร์และเกณฑ์การพิจารณาการเป็นสาเหตุ 
การอธิบายเชิงโครงสร้าง
 การอธิบายโครงสร้างเชิงสาเหตุ 
การอธิบายเชิงโครงสร้างที่ไม่เป็นสาเหตุ 
สรุป 
บรรณานุกรม 

บทที่ 5 ศาสตร์แห่งการตีความ
บทนำ 
พัฒนาการของศาสตร์แห่งการตีความ 
ฐานคติการตีความทางสังคม 
ฐานคติเกี่ยวกับมนุษย์ 
แนวทางการตีความทางสังคม 
ตัวแบบการตีความการกระทำทางสังคม 
สรุป 
บรรณานุกรม 
บทที่ 6 สัจนิยมเชิงวิพากษ์
บทนำ 
กำเนิดและพัฒนาการของสัจนิยมเชิงวิพากษ์ 
สัจนิยม ความเป็นจริง และความเป็นสาเหตุ 
การจำแนกระดับความเป็นจริงและหลักความไม่สอดคล้อง 
ระหว่างการอธิบายละการทำนาย
วิธีการสร้างความรู้แบบ “ปฏินัย” 
สัจนิยมกับการอธิบายสังคม 
ตัวอย่างการอธิบายสังคมของสัจนิยมวิพากษ์ 
วิพากษ์สัจนิยมเชิงวิพากษ์ 
สรุป 
บรรณานุกรม 
บทที่ 7 ทฤษฎีวิพากษ์
บทนำ 
สำนักแฟรงค์เฟิร์ทยุคแรก: การวิพากษ์ปฏิฐานนิยม 
ทฤษฎีวิพากษ์ยุคสอง: ประเภทของความรู้และการกระทำเชิงการสื่อสาร 
สรุป 
บรรณานุกรม 




บทที่ 8 ปฏิบัตินิยม หลังโครงสร้างนิยม และหลังนวสมัยนิยม
บทนำ 
ปฏิบัตินิยม: ธรรมชาติของความรู้และความหลากของระเบียบวิธี 
พหุนิยมเชิงระเบียบวิธีในสังคมศาสตร์ 
ความรู้คือการปฏิบัติและการเข้าใจตนเอง 
พลังการเปลี่ยนแปลง: การวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนานโยบาย 
หลังโครงสร้างนิยมและหลังนวสมัยนิยม 
การรื้อสร้าง
วงศาวิทยา 

สรุป 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์          พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากความขัดแย้งของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอุดมการณ์ เรื่องเชื้อชาติและศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้  และปัญหาแรงงานอพยพที่นับวันจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องนำเสนอความคิดทางสังคมการเมืองซึ่งอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเพื่อทำให้สังคมลดความขัดแย้ง  สร้างการบูรณาการ และความสมานฉันท์อย่างเป็นระบบขึ้นมา   เนื่องจากแนวความคิดนี้มีความยาวและต้องทำความเข้าใจในหลายมิติ ผู้เขียนพยามยามนำเสนอให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ          พหุวัฒนธรรมนิยม ( multiculturalism) เป็นแนวคิดคู่แข่งทางวิชาการและนโยบายของลัทธิชาตินิยม ( nationalism)      นักวิชาการเริ่มใช้คำนี้ประมาณทศวรรษ 1960  เพื่ออธิบายนโยบายสาธารณะใหม่ ในประเทศแคนาดา ต่อมาขยายไปสู่ประเทศออสเตรเลีย  การพัฒนาการของแนวคิดนี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยของรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation) ไปสู่นโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้วัฒ