ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การรับฟังข้อมูลข่าวสารที่บั่นทอนและทำลายประชาธิปไตย


                              การรับฟังข้อมูลข่าวสารที่บั่นทอนและทำลายประชาธิปไตย  

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

การรับฟังข้อมูลข่าวสารที่บั่นทอนและทำลายประชาธิปไตย  มีลักษณะสำคัญคือ 4 ประการ


1.                การรับฟังที่จำกัดคับแคบ แบบกบในกะลา  รับฟังแต่สิ่งที่ตนเองชอบและเชื่อ  ขณะเดียวกันก็ปิดหูปิดตาต่อสิ่งที่แตกต่างจากความเชื่อของตนเอง    ประเภทฟังแต่พวกเดียวกัน ไม่ฟังคนอื่นหรือฟังแบบจับผิด

2.                การฟังที่ไร้ปัญญาขาดความสามารถในการวิเคราะห์ ไม่อาจแยกแยะได้ว่าอะไรคืออารมณ์เชิงปลุกเร้าให้ไปสู่ความหายนะ อะไรคือเหตุผลที่ทำให้หลุดพ้นจากความงมงาย   ปะปนสับสนจับต้นชนปลายไม่ถูก แล้วแต่ผู้พูดหรือผู้เขียนชักนำไปทางทิศไหน   แม้แต่จุดไฟเผาเมืองก็ยังทำ

3.                 การฟังที่ขาดความสามาถในการแยกแยะว่าสิ่งใดคือความเท็จ สิ่งใดคือความจริง   และแยกไม่ออกระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นของผู้พูดหรือผู้เขียน   เมื่อแยกเท็จหรือจริงไม่ออกก็จะนำไปสู่ดินแดนแห่งภาวะกึ่งจริงกึ่งฝัน  เช่น ฝันว่าสังคมไทยยังอยู่ในยุคศักดินา  มีอำมาตย์ปกครองประเทศ   หากใครมีภาวะแบบนี้สะสมมากๆ ก็จะไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรคือความจริง อะไรคือความฝัน  ภาวะเช่นนี้ในทางจิตวิทยาเรียกว่า “จิตเภท” หรือ จิตที่แตกแยก นั่นเอง

4.                การฟังแบบด่วนสรุปและเชื่อสุดหัวใจ    เป็นภาวะที่เมื่อผู้รับข้อมูลข่าวสารได้ยินหรืออ่านในสิ่งที่ผู้พูดหรือเขียน ถ่ายทอดออกมา แล้วก็ด่วนสรุปและเชื่อว่ามันเป็นเช่นนั้น โดยที่ไม่ใช้ปัญญาและเหตุผลในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบถี่ถ้วน     ความเชื่อแบบนี้มีความสัมพันกับความคลั่งไคล้หลงใหล 
              หากผู้รับข้อมูลข่าวสารมีความคลั่งไคล้หรือหลงไหลต่อผู้ที่ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้เชื่อเร็วยิ่งขึ้น    ความเชื่อแบบนี้มีความฝังแน่นมาก  ยากที่จะแกะให้หลุดออกจากจิตได้ง่าย    และหากประเทศใดประชาชนส่วนใหญ่รับข้อข้อมูลข่าวสารและเชื่อแบบด่วนสรุป  ก็จะเป็นสิ่งบั่นทอนและทำลายประชา
ธิปไตย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์          พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากความขัดแย้งของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอุดมการณ์ เรื่องเชื้อชาติและศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้  และปัญหาแรงงานอพยพที่นับวันจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องนำเสนอความคิดทางสังคมการเมืองซึ่งอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเพื่อทำให้สังคมลดความขัดแย้ง  สร้างการบูรณาการ และความสมานฉันท์อย่างเป็นระบบขึ้นมา   เนื่องจากแนวความคิดนี้มีความยาวและต้องทำความเข้าใจในหลายมิติ ผู้เขียนพยามยามนำเสนอให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ          พหุวัฒนธรรมนิยม ( multiculturalism) เป็นแนวคิดคู่แข่งทางวิชาการและนโยบายของลัทธิชาตินิยม ( nationalism)      นักวิชาการเริ่มใช้คำนี้ประมาณทศวรรษ 1960  เพื่ออธิบายนโยบายสาธารณะใหม่ ในประเทศแคนาดา ต่อมาขยายไปสู่ประเทศออสเตรเลีย  การพัฒนาการของแนวคิดนี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยของรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation) ไปสู่นโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้วัฒ