พลเอกสนธิ เอกบุรุษผู้ทำลาย 3 อำนาจอธิปไตย.
แต่ปริศนาคือ ทำเองหรือตกเป็นเครื่องมือ
พลเอกสนธิ บุญรัตกลิน อดีตหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่ขจัดรัฐบาลทักษิณพ้นจากอำนาจในปี 2549. การรัฐประหารครั้งนั้นนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดครั้งแรกของพลเอกสนธิ. เพราะ
1. เป็นการขัดขวางพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. โดยที่ตนเองก็ปราศจากเจตจำนงค์ทางการเมืองใดๆในการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทยให้ดีขึ้น. จึงเป็นการรัฐประหารแบบลวกๆดิบๆสุกๆ หรือ สุกเอาเผากิน. เหตุผลที่อ้างในการทำรัฐประหาร ไม่มีเรื่ิองใดเลยที่ได้รับการดำเนินการต่อเนื่องและจริงจัง
2 เป็นต้นเหตุในการสร้างขบวนการทางการเมืองแบบอนาอุปถัมภ์ธิปไตย ขึ้นมาของ กลุ่มคนเสื้อแดง. และทำให้บ้านเมืองต้องประสบกับความวุ่นวายสับสน. เกิดจลาจลนองเลือด เผาบ้านเผาเมืองหลายครั้งหลายหน. เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนจำนวนไม่น้อยต้องตายพิการและบาดเจ็บ ทั้งยังทำให้สถาบันหลักของบ้านเมืองถูกคุกคามอย่างหนักหน่วง. อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน. รวมทั้งเกิดความเสียหายในกระบวนการยุติธรรมอย่างรุนแรง
ความเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมาพลเอกสนธิ เป็นผู้มีส่วนร่วมที่สำคัญมากผู้หนึ่งในเวทีประวัติศาสตร์ไทย
แต่ดูเหมือนพลเอกสนธิ จะยังไม่ยอมหยุด และกำลังเดินเกมทางการเมืองที่นำไปสู่การสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศไทยอีกรอบหนึ่ง. อันเป็นความผิดมหันต์ซ้ำซาก. นั่นคือ การเป็นหัวหอกในการเสนอนิรโทษกรรมให้ทักษิณ. ชินวัตร คนที่พลเอกสนธิรัฐประหารนั่นแหละ
พลเอกสนธิ อาจเข้าใจไปเองอย่างผิดๆและแก้ตัวกับสังคมว่า การทำเช่นนั้นเป็นการสร้างการปรองดองในสังคม.
แต่คนเขามองเห็นไส้พุงของพลเอกสนธิ ว่ามีอยู่กี่ขด. เพราะแท้จริงแล้วพลเอกสนธิเสนอเรื่องปรองดอง นี้เป็นการทำเพื่่อไถ่บาปของตนเองที่ได้กระชากทักษิณลงจากอำนาจ. พูดง่ายๆก็คือ ทำเพื่อให้ทักษิณ กลับคืนสู่สภาพเดิมก่อนการรัฐประหาร. หรือ คืนอำนาจและสถานภาพเดิมให้ทักษิณนั่นเอง
แต่พลเอกสนธิ คงไม่รู้ หรือ อาจจะรู้ก็ได้หากยังมีสติปัญญาวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง(แต่ผมไม่ค่อยแน่ใจนัก). ว่า การกระทำของตนเอง เป็นความผิดซ้ำสอง ที่จะสร้างความเสียหายแก่สังคมไทยยิ่งกว่าการรัฐประหารในครั้งแรกเสียอีก. เพราะการทำครั้งนี้เป็นการทำลายกระบวนการยุติธรรมอย่างยับเยิน.
บทบาทของพลเอกสนธิ. จึงเป็นผู้ทำลายอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติในปี 2549. และในปี 2555 เขาจะเป็นผู้ทำลายอำนาจอธิปไตยที่สามคือ อำนาจตุลาการ
เขาจึงเป็นบุรุษไทยผู้เดียวที่ ทำลายอำนาจอธิปไตยทั้งสามลงไปอย่างครบครัน ซึ่งไม่เคยมีผู้นำทางการเมืองคนใดในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ทำได้แบบเขามาก่อน
น่าทึ่งจริงๆสำหรับคนผู้หนึ่งที่มีอำนาจในการทำลายล้างอย่างนี้. และน่าทึ่งมากๆหากการกระทำของเขา ไม่ได้เกิดจากเจตจำนงค์ของตนเอง. แต่เกิดจากการบงการของผู้อื่น. อย่างในปี2549 บางครั้งพลเอกสนธิก็พูดเหมือนเป็นนัยๆว่า ตนเองไม่อยากรัฐประหาร. แต่แม้ตายก็บอกไม่ได้ว่าใครอยู่เบื้องหลัง. ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน. ในอนาคตพลเอกสนธิ อาจพูดว่า แท้จริงแล้วตนเองไม่อยากเสนอกฎหมายปรองดอง แต่แม้ตายก็บอกไม่ได้ว่าทำไมต้องเสนอกฎหมายนี้
แต่ไม่ต้องบอกหรอกครับ. คนที่ิเขาติดตามสถานการณ์บ้านเมือง เขามองออกว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพลเอกสนธิคือใคร
แต่ไม่ว่าจะอ้างอย่างไร พลเเอกสนธิ. ย่อมไม่อาจปัดความรับผิดชอบในการสร้างความเสียหายแก่สังคมไทยในช่วงที่ผ่านม่หลายปีนี้ได้. รวมทั้งความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2
บทวิจารณ์หนังสือ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE จำนวน 208 หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก ในปี 1967 Glaser และ Strauss ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง การวิจัยเชิงคุณ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น