ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย พลานุภาพของความเสื่อม


พลานุภาพของความเสื่อม

http://www.manager.co.th/images/blank.gif

โดย ผู้จัดการรายวัน
22 กันยายน 2560 17:09 น.

http://www.manager.co.th/images/blank.gif

http://www.manager.co.th/images/blank.gif
   
 ผู้จัดการรายวัน
22 กันยายน 2560 17:09 น.
    
 "ปัญญาพลวัตร"
       "พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"
      
        เมื่อบริหารประเทศมาระยะเวลาหนึ่ง รัฐบาลมีแนวโน้มเสื่อมความนิยมจากประชาชน บางรัฐบาลใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ความเสื่อมก็มาเยือนอย่างรวดเร็ว บางรัฐบาลก็ใช้เวลายาวนาน กว่าความเสื่อมจะเกิดขึ้น แต่ในท้ายที่สุดก็หลีกหนีไม่พ้นสัจธรรมประการนี้ไปได้ กล่าวได้ว่า พลานุภาพของความเสื่อม” เกิดขึ้นและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วเสียยิ่งกว่า พลานุภาพของความศรัทธา”
      
        ความเสื่อมคืบคลานเข้ามาสู่รัฐบาลอย่างช้าๆแบบค่อยเป็นค่อยไป และมีลักษณะของการสะสมทับถมไปเรื่อย ๆ ดุจตะกอนของน้ำ เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น ในระยะแรกอาจยังมองไม่เห็นหรือตระหนักถึงอาการแห่งความเสื่อมนั้น หรืออาจจะเห็นความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็พยายามปลอบใจตนเองว่านั่นยังไม่ใช่ลักษณะของความเสื่อม เมื่อถึงจุดหนึ่งความเสื่อมก็แพร่ขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง จนสุดจะเยียวยาได้
      
        อะไรคืออาการอันบ่งบอกถึงความเสื่อมของรัฐบาล เราสังเกตได้ไม่ยากนัก หากเฝ้ามองมันอย่างพิเคราะห์ อย่างแรกคือ เสียงแห่งความชื่นชมและการแสดงออกถึงการสนับสนุนค่อย ๆ เงียบลงตามลำดับโดยเฉพาะจากกลุ่มชั้นนำทางปัญญา ชนชั้นกลาง และสื่อมวลชน แต่ด้วยเหตุที่ความชื่นชมในกลุ่มเครือข่ายใกล้ชิดของรัฐบาลยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก จึงทำให้รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจติดอยู่ในกับดักของมายาคติแห่งความชื่นชมดังกล่าว และไม่ตระหนักรู้ถึง ความเงียบของเสียงชื่นชม” ของคนวงนอก
      
        อย่างที่สอง เสียงแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ค่อย ๆ ดังขึ้น โดยส่วนมากเสียงนี้มักจะเริ่มต้นจากผู้ที่มีทัศนคติและความเชื่อไม่ตรงกับรัฐบาล ในช่วงแรกของการเป็นรัฐบาล เสียงจากฝ่ายตรงข้ามของรัฐบาลมักจะเป็นเสียงที่แผ่วเบาและไม่มีพลังมากนัก รัฐบาลและผู้สนับสนุนมักจะมองข้ามและไม่สนใจใยดีกับเสียงเหล่านั้น แต่เมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น เสียงแห่งการวิพากษ์วิจารณ์จะขยายตัวออกไป ผู้คนบางส่วนที่เคยสนับสนุนและเปล่งเสียงชื่นชม ก็เปลี่ยนท่าที และส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาแทน
      
        หากรัฐบาลทำเป็นไม่ได้ยินและไม่ให้ความสำคัญกับเสียงวิจารณ์ของผู้ที่เคยสนับสนุน และยังบริหารประเทศเป็นแบบเดิม การวิพากษ์วิจารณ์ก็จะขยายตัวออกไปเป็นวงกว้าง และในบางกรณีก็จะก่อตัวเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อกดดันรัฐบาลให้ปรับเปลี่ยนนโยบายหรือการตัดสินใจทางการเมือง
      
        อย่างที่สาม มีเรื่องอื้อฉาวของบุคคลในรัฐบาลหรือคนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลปรากฎเป็นข่าวในสื่อมวลชนมากขึ้น เราจะเห็นปริมาณของข่าวเชิงลบเกี่ยวกับเรื่องราวของบุคคลในรัฐบาลตามหน้าหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์มีมากขึ้น ขณะที่ข่าวเชิงบวกค่อย ๆ เลือนหายไป
      
       อย่างที่สี่ การแสดงออกทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงแบบย่อย ๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และมีความต่อเนื่อง เริ่มจากการประท้วงของกลุ่มประชาชนที่เดือดร้อนจากนโยบายหรือความไร้ความสามารถในการบริหารงานของรัฐบาล เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือการตัดสินใจทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น การชุมนุมของเกษตรกรเกี่ยวกับราคาสินค้าเกษตร หรือ การชุมนุมของผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายอื่นๆของรัฐบาล จากนั้นการชุมนุมจะขยายวงออกไปทั้งในแง่กลุ่มคนที่เข้าร่วมและประเด็นของการชุมนุม
      
       ในการชุมชุมทางการเมืองแต่ละครั้ง แม้บางกรณีดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน แต่จะเป็นการสะสมพลังแห่งความไม่พอใจต่อรัฐบาลในภาพรวมให้ทวีความเข้มข้นมากขึ้น และเมื่อถึงจุดหนึ่ง หากรัฐบาลตัดสินใจหรือมีการกระทำทางการเมืองผิดพลาดซ้ำอีก ก็จะกลายเป็นเงื่อนไขเพียงพอให้ความเสื่อมของรัฐบาลพุ่งไปสู่ระดับสูงสุด และความชอบธรรมของรัฐบาลในการบริหารประเทศก็สิ้นสุดลงไป
      
       รัฐบาลไทยในอดีต เมื่อเผชิญกับสถานการณ์แห่งความเสื่อม มักรับมือและจัดการกับความเสื่อมได้ไม่ค่อยดีนัก ซึ่งนำไปสู่จุดจบอย่างขมขื่นแทบทุกครั้งไป นั่นคือจบไม่สวย ผู้นำรัฐบาลบางคนก็ถูกยึดทรัพย์ บางคนก็ไม่มีแผ่นดินอยู่ บางคนก็ติดคุก และบางคนก็ถูกตราหน้าว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความล้มเหลวในประวัติศาสตร์
      
       อย่างรัฐบาลจอมพลถนอม ในช่วงปี 2516 ทั้งที่ก่อนหน้านั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับการมองจากสังคมว่าเป็นนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์ ขณะที่จอมพลประภาส จารุเสถียร คนใกล้ชิดที่มีอำนาจรองลงมา มีภาพลักษณ์ไม่ดีนัก แต่เมื่อใกล้ถึงจุดจบของรัฐบาล เรื่องราวเกี่ยวกับการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลและบุคคลในเครือข่ายก็ปรากฎออกมาให้สาธารณะรับรู้กันอย่างแพร่หลาย และกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลในเวลาต่อมา จนทำให้รัฐบาลพบกับจุดจบและถูกสังคมตราเป็น “ทรราช” อย่างยาวนาน จนยากที่จะลบออกไปได้
      
       เฉกเช่นเดียวกันรัฐบาลทักษิณเมื่อปี 2549 ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเป็นรัฐบาลที่ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้นอย่างไม่เคยมีมากก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่เพียงไม่นาน ความเสื่อมเกิดขึ้นจากการบริหารงานที่ขาดความโปร่งใส มีการทุจริต และผลประโยชน์ทับซ้อน ครั้นเมื่อความเสื่อมเกิดขึ้น รัฐบาลทักษิณไม่ตระหนักและยอมรับสภาพความเสื่อมของตนเอง จึงปล่อยปละละเลยไม่เข้าไปจัดการความเสื่อม จนความเสื่อมกัดกินเข้าไปจนถึงกระดูก และท้ายที่สุดก็พบกับจุดจบทางการเมืองอย่างน่าอนาถนัก
      
       รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาในเวลานี้ก็เช่นเดียวกัน ความเสื่อมเกิดขึ้นและขยายตัวออกไปแล้ว แม้บางครั้งดูเหมือนรัฐบาลจะพอทราบอยู่บ้าง จากการที่พูดออกมาว่าเดี๋ยวนี้เมื่อเปิดขึ้นไปดูสื่อมวลชน พบว่ามีคนวิจารณ์ตนเองประมาณครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งยังสนับสนุน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงแรกที่เข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเสียงสนับสนุนลดลงไปอย่างมาก
      
       ถึงแม้ว่าเราเห็นสัญญาณถึงการยอมรับการดำรงอยู่ของความเสื่อม แต่การจัดการความเสื่อมของรัฐบาลก็ยังไม่ชัดเจนนัก การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของความเสื่อมให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ อย่าคิดแบบหยาบ ๆ เพียงแต่ว่าคนไทยเบื่อง่าย เพราะนั่นเป็นการโทษปัจจัยภายนอก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลในทางบวกเชิงการแก้ไขแต่อย่างใด หากแต่เป็นการจัดการเชิงการปกป้องตนเอง ซึ่งรังแต่จะสร้างความเสียหายที่รุนแรงตามมาภายหลัง
      
       หากศึกษาบทเรียนในอดีตอย่างรอบด้าน ก็จะพบว่าความเสื่อมของรัฐบาลมักเริ่มขึ้นจากการทุจริตของคนใกล้ชิด ญาติ มิตร พวกพ้อง และบริวาร ขณะเดียวกันผู้นำรัฐบาลมักจะมองไม่เห็นหรือไม่เชื่อว่าคนเหล่านั้นทุจริต หรือบางทีอาจเห็นอยู่บ้าง แต่กลับไม่กล้าเข้าไปดำเนินการแก้ไขในสิ่งผิด เพราะมีความผูกพันส่วนตัวกับตนเอง หรือไม่ก็เกรงใจ กลัวเป็นการทำลายน้ำใจของคนเหล่านั้น ดังนั้นแม้ว่าจะแสดงความขึงขังในการจัดการกับการทุจริตอยู่บ้าง ก็ดำเนินแต่กับคนที่ไม่เกี่ยวข้องกับตนเอง หรือคนที่มีสถานภาพและตำแหน่งไม่สูงนัก แต่การทำแบบนี้แทนที่จะก่อให้เกิดผลดี กลับยิ่งส่งผลเสียมากขึ้นไปอีก เพราะผู้คนเขาคิดว่าเป็นการทำแบบขอไปทีเป็นเพียงพิธีกรรม หรือ แบบสองมาตรฐานนั่นเอง
      
       ส่วนการเรียกร้องหาหลักฐานการทุจริตจากผู้วิพากษ์วิจารณ์นั้นบ่งบอกถึงความอับจนปัญญาของผู้เรียกร้อง และยังตอกย้ำให้เห็นว่า สิ่งที่พูดเกี่ยวกับการปราบปรามทุจริตนั้น เป็นเพียงลมปากลอยๆ หาได้จริงจังแต่อย่างใด เพราะว่ารัฐบาลมีอำนาจ ทรัพยากรและกลไกอยู่ในมืออย่างมหาศาล หากไม่สามารถหาหลักฐานได้ด้วยตนเองแล้ว ย่อมเป็นการแสดงถึงความไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบประเทศได้อีกต่อไป
      
       ส่วนสาเหตุความเสื่อมที่สำคัญอีกประการคือ ความไม่มีความสามารถเพียงพอในการบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจให้มีความเจริญควบคู่ไปกับการกระจายความมั่งคั่งได้ ในปัจจุบันเราเห็นแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจของบางกลุ่มบางพวก แต่สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ยังไม่ได้รับผลพวงของความเจริญนี้แต่อย่างใด ดังนั้นการทวนทวนแนวทางการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจเสียใหม่ เพื่อให้กระจายไปยังทุกกลุ่มทุกอาชีพอย่างเป็นธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเยียวยาความเสื่อม
      
       การจัดการความเสื่อมที่ดีคือ การจัดการเพื่อขจัดสาเหตุของความเสื่อมนั่นเอง หากรัฐบาลไม่มีความสามารถในขจัดสาเหตุของความเสื่อมได้ ก็ย่อมทำให้ความเสื่อมยิ่งเพิ่มพูนขึ้นเป็นทวีคูณ และหากปล่อยปละละเลย รัฐบาลก็อาจมีโอกาสได้เห็น “พลานุภาพของความเสื่อม” ว่าจะเป็นอย่างไรในไม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์          พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากความขัดแย้งของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอุดมการณ์ เรื่องเชื้อชาติและศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้  และปัญหาแรงงานอพยพที่นับวันจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องนำเสนอความคิดทางสังคมการเมืองซึ่งอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเพื่อทำให้สังคมลดความขัดแย้ง  สร้างการบูรณาการ และความสมานฉันท์อย่างเป็นระบบขึ้นมา   เนื่องจากแนวความคิดนี้มีความยาวและต้องทำความเข้าใจในหลายมิติ ผู้เขียนพยามยามนำเสนอให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ          พหุวัฒนธรรมนิยม ( multiculturalism) เป็นแนวคิดคู่แข่งทางวิชาการและนโยบายของลัทธิชาตินิยม ( nationalism)      นักวิชาการเริ่มใช้คำนี้ประมาณทศวรรษ 1960  เพื่ออธิบายนโยบายสาธารณะใหม่ ในประเทศแคนาดา ต่อมาขยายไปสู่ประเทศออสเตรเลีย  การพัฒนาการของแนวคิดนี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยของรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation) ไปสู่นโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้วัฒ