ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การปฏิรูปการศึกษาไทย: ข้อเสนอ 6 ประการ

การปฏิรูปการศึกษาไทย: ข้อเสนอ 6 ประการ
                          พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

     ประเด็นแรกคือการสร้างเสถียรภาพและความต่อเนื่องของนโยบาย  การทำเช่นนี้ได้จะต้องแยกการศึกษาออกจากการเมือง  เพราะการเมืองมีความไม่แน่นอนสูงและเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง  กลุ่มคนที่จะมาดูบริหารการศึกษาควรมาจากกลุ่มที่มีวิสัยทัศน์ทางการศึกษาที่ชัดเจน มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการตามพันธกิจในการพัฒนาการศึกษา มีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและอยู่บนฐานของข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบถ้วน ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จะต้องมีอย่างน้อย 3 ชุด ชุดแรกเป็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ที่กำหนดกรอบทิศทางการศึกษาของประเทศในภาพรวม  ชุดที่ 2 เป็นคณะกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ ที่จักต้องทำหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ และชุดที่ 3 เป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในจังหวัดหรือพื้นที่  โดยทั้ง 3 ชุดทำจะต้องดำเนินงานที่บูรณาการสอดประสานกันทั้งระบบ และมีมาตรการในการกำกับติดตามและการประเมินผลอย่างชัดเจน
          ประเด็นที่สอง การบริหารและจัดการศึกษาต้องผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่องและเป็นจริงให้ได้ โดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานการศึกษา  ทั้งนี้จะต้องมีมาตรการที่ทำให้องค์การที่รับการกระจายอำนาจมีความรับผิดชอบต่อสาธารณะที่ชัดเจน เช่น ให้องค์การบริหารส่วนตำบลตำบล เทศบาลและโรงเรียนแต่ละแห่งจัดแสดงและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญทางการศึกษาต่อสาธารณะและให้มีการประชาคมเกี่ยวกับข้อมูลดังกล่าว  เช่น ข้อมูลคะแนนสอบระดับชาติของนักเรียน อัตราการออกกลางคัน การสอบเข้าเรียนต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบและร่วมกันเสนอแนวทางในการปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ของตนเอง ในการนี้แต่ละโรงเรียนและแต่ละองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจัดเป็นงานประจำปีในรูปการประชุม จัดนิทรรศการ สัมมนา หรือเสวนา เกี่ยวกับการศึกษาของนักเรียน”  การดำเนินการในลักษณะนี้จะทำให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาเกิดความตระหนักและมีความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น
          ประเด็นที่สาม ยกเลิกระบบมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษาแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และให้ทางโรงเรียนหรือสอนการศึกษาแต่ละแห่งกำหนดระบบมาตรฐานเอง โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน  วิธีการกำหนดมาตรฐานและการประกันคุณภาพอาจวิธีการเดียวกับระบบโรงเรียนคุณธรรมนั่นคือ ให้แต่ละภาคส่วนเขียนความคาดหวังในการศึกษา และความคาดหวังต่อกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาหาข้อสรุปร่วมกันและกำหนดเป็นธรรมนูญหรือมาตรฐานที่แต่ละกลุ่มจะต้องนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งอาจได้อย่างน้อย 5 มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ คือมาตรฐานของโรงเรียนในภาพรวม มาตรฐานผู้บริหารสถานศึกษา มาตรฐานครู มาตรฐานนักเรียน และมาตรฐานผู้ปกครอง   
          ประเด็นที่สี่ การพัฒนาคุณภาพวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นนำ ที่ดึงดูดกลุ่มนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาสูงเข้ามาเรียน โดยการให้ทุนและหลักประกันในการประกอบอาชีพจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี  พร้อมกันนั้นก็จำเป็นต้องปฏิรูประบบการสร้างแรงจูงใจทั้งในแง่ค่าตอบแทน สวัสดิการ และการยกย่องทางสังคม  จัดระบบการบริหารให้ครูมีความก้าวหน้าในอาชีพด้วยการพัฒนาตนเองให้มีความเป็นเลิศตามความถนัดและด้วยวิธีการที่หลากหลายตามบริบท รวมทั้งต้องมีระเบียบหรือกฎหมายให้ชัดเจนในการห้ามมิให้รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐใช้เวลาของครูไปทำกิจกรรมอื่นที่อยู่นอกเหนือการศึกษา   ครูและโรงเรียนอาจร่วมทำโครงการหรือนโยบายจากหน่วยงานอื่นได้ ต้องเป็นนโยบายหรือโครงการที่เกี่ยวข้องการพัฒนาการศึกษาแลสติปัญญาของเด็ก และจะต้องเป็นการตัดสินใจร่วมกันอย่างเป็นเอกฉันท์ของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้จะต้องไม่รบกวนเวลาในการเรียน การสอน และการเรียนรู้ของเด็ก
          ประเด็นที่ห้า การสร้างกระแสค่านิยมให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษา รวมทั้งการเพิ่มบทบาทของผู้ปกครองในการส่งเสริมการศึกษาของบุตรหลาน วิธีการสร้างค่านิยมและบทบาทเช่นนี้ อาจใช้วิธีการที่โรงเรียนสาธิตต่างๆใช้คือการนัดผู้ปกครองและเด็กมาพูดคุยร่วมกันกับครูในเรื่องการศึกษาและปัญหาอื่นๆเพื่อช่วยกันหาทางแก้ไขและพัฒนา  ขณะเดียวกันก็สร้างแรงดลใจและแรงจูงใจในการศึกษาแก่เด็ก โดยการพัฒนาครูให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างเป็นตัวแบบที่ดีแก่เด็ก  การนำศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จมาพบปะพูดคุยกับเด็ก  การปลูกฝังค่านิยมให้เด็กรักในการแสวงหาความรู้  และการสร้างภาคภูมิใจของการประสบความสำเร็จในการศึกษา
            ประเด็นที่หก การเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบครูเป็นใหญ่อย่างจริงจัง โดยให้แต่ละโรงเรียนจัดทำแผนและการดำเนินการลดการเรียนการสอนแบบบรรยายลงอย่างเป็นขั้นตอนและมีเป้าหมายที่ชัดเจน  พร้อมกันนั้นก็นำวิธีการเรียนการสอนแบบอื่นๆที่หลากหลายมาใช้ในการเรียนรู้ทั้งภายในห้องเรียน และนอกห้องเรียนให้มากขึ้น 

          กระบวนทัศน์ ปรัชญา และแนวทางในการจัดการการศึกษาไทยจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านและถึงรากถึงโคน  มิฉะนั้นคุณภาพการศึกษาในภาพรวมก็ยิ่งตกต่ำลงไปอีก ซึ่งหมายความว่าคุณภาพปัญญา คุณภาพอารมณ์ และคุณภาพชีวิตของคนในสังคมโดยรวมก็ต่ำลงไปด้วย  ซึ่งจะนำไปสู่การขยายตัวของความขัดแย้งและความรุนแรงทางสังคม รวมทั้งภาวะถดถอยของการพัฒนาสังคมก็เป็นเรื่องที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

ความผิดพลาดของมนุษย์ตามแนวคิดของ ฟรานซิส เบคอน

ความผิดพลาดของมนุษย์ : ชนเผ่า ถ้ำ ตลาด และโรงมหรสพ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะนี้  ยิ่งทำให้เห็นความจริงประการหนึ่งว่า ทะเลแห่งความมืดบอดของสังคมไทยนับวันจะขยายตัวออกไปมากขึ้น   และเกาะแห่งปัญญานับวันจะลดน้อยถอยลง  หากภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไปนานเท่าไร  ก็ยิ่งทำให้ทะเลแห่งความมืดบอดมีโอกาสกลืนกินเกาะแห่งปัญญาจนหมดสิ้นในไม่ช้า  ผมไปอ่านงานของนักปรัชญาท่านหนึ่ง  เห็นว่ามีความน่าสนใจโดยเฉพาะการวิเคราะห์เกี่ยวกับความผิดพลาดทางปัญญาและการให้เหตุผลของมนุษย์   ซึ่งทำให้เราต้องนำมาทบทวน ระมัดระวัง จะได้ไม่ตกอยู่ในความผิดพลาดนั้น   เพื่อจะได้พัฒนาปัญญาของตนเองให้กระจ่างชัด และมีหนทางในการนำพาสังคมให้หลุดพ้นจากทะเลแห่งความมืดบอดต่อไป ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาชาวอังกฤษซึ่งมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561 ถึง 1626   วิเคราะห์จำแนกสาเหตุของความผิดพลาดในการใช้เหตุผลของมนุษย์ออกเป็นสี่แบบ  ได้แก่ ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของชนเผ่า ( Idols of the Tribe)    ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของถ้ำ ( Idols of the Cave)   ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของตลาด (Idols of the Market-place)   และความผิดพลาด

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั