ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย พลานุภาพของความเสื่อม

พลานุภาพของความเสื่อม โดย ผู้จัดการรายวัน 22 กันยายน 2560 17:09 น.      ผู้จัดการรายวัน 22 กันยายน 2560 17:09 น.       " ปัญญาพลวัตร"         " พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต"                 เมื่อบริหารประเทศมาระยะเวลาหนึ่ง รัฐบาลมีแนวโน้มเสื่อมความนิยมจากประชาชน บางรัฐบาลใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ความเสื่อมก็มาเยือนอย่างรวดเร็ว บางรัฐบาลก็ใช้เวลายาวนาน กว่าความเสื่อมจะเกิดขึ้น แต่ในท้ายที่สุดก็หลีกหนีไม่พ้นสัจธรรมประการนี้ไปได้ กล่าวได้ว่า   “ พลานุภาพของความเสื่อม”   เกิดขึ้นและแพร่ขยายอย่างรวดเร็วเสียยิ่งกว่า   “ พลานุภาพของความศรัทธา”                 ความเสื่อมคืบคลานเข้ามาสู่รัฐบาลอย่างช้าๆแบบค่อยเป็นค่อยไป และมีลักษณะของการสะสมทับถมไปเรื่อย ๆ ดุจตะกอนของน้ำ

รศ. ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วยการอ้างมงแตสกีเยอในการเมืองไทย

การอ้างมงแตสกีเยอในการเมืองไทย เผยแพร่:  8 ก.ย. 2560 15:36:00 "ปัญญาพลวัตร" "พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" สังคมไทยช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีกระแสการพูดถึง  มงแตสกีเยอ  นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งอย่างกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากการทวีตในสื่อสังคมออนไลน์ของ  นายทักษิณ ชินวัตร  ภายหลังจากเหตุการณ์หลบหนีคดีจำนำข้าวของ  นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ผู้เป็นน้องสาว  ข้อความของมงแตสกีเยอที่นายทักษิณ หยิบยกขึ้นมาอ้างคือ  “ไม่มีความเลวร้ายใด ที่จะยิ่งไปกว่าความเลวร้ายที่ได้กระทำ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรือในนามของกระบวนการยุติธรรม”  เมื่อดูนัยของข้อความโดยเชื่อมโยงกับการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกดำเนินคดีแล้ว ผมเข้าใจว่านายทักษิณคงมองว่า การที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถูกดำเนินคดีเป็นการกระทำที่เลวร้ายที่สุด นับว่าเป็นการตีแสกหน้ารัฐบาลและกระบวนการยุติธรรมของไทยโดยตรง  การหยิบยกข้อความของนักปราชญ์มาอ้างในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งเป็นเรื่องที่เราพบได้โดยทั่วไปในโลกปัจจุบัน เพราะว่าการค้นคว้าและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้ง่ายขึ้น เมื่อเราพบว่ามีข้อความใดที่โดนใจและเข้ากับสถานการณ์ เราก็

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง:การเมืองแบบมีส่วนร่วมสำหรับยุคใหม่

ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง : การเมืองแบบมีส่วนร่วมสำหรับยุคใหม่ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                 เมื่อบริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลกระทบต่อหลักการ แนวความคิด และทฤษฎีเดิมที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์และใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางปฏิบัติ   เช่นเดียวกันหลักการและแนวคิดประชาธิปไตยในสังคมมนุษย์ซึ่งมีการกำเนิดมาอย่างยาวนาน ก็ย่อมมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สามารถตอบสนองปรารถนาร่วมของประชาชนในการบริหารปกครองสังคมอย่างมีประสิทธิผล                 เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ศาสตราจารย์ เบนจามิน บาร์เบอร์ นักรัฐศาสตร์นามอุโฆษชาวอเมริกัน แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ได้เขียนหนังสือเรื่อง “ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง : การเมืองแบบมีส่วนร่วมสำหรับยุคใหม่” ขึ้นมา หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1984  ต่อมาตีพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่สองเมื่อปี 1990 และต่อมาพิมพ์เป็นครั้งที่สามในปี 2004     หนังสือเล่มนี้ได้เสนอหลักการใหม่ในการพิจาณาประชาธิปไตยและรับการอ้างอิงจากนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์อื่นๆที่สนใจเรื่องการเมืองและประชาธิปไตยอย่างกว้างขวาง                 ในหนังสือได้อภิปรายว่า “ประชาธิปไตยแบบต

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย ปมปัญหาของความเคารพนับถือกับจริยธรรม

ปมปัญหาของความเคารพนับถือกับจริยธรรม พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต มนุษย์เริ่มรับรู้การดำรงอยู่ของผู้อื่นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ครั้นเมื่อกำเนิดลืมตาดูโลกแล้ว การรับรู้ถึงสายสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับมนุษย์ผู้อื่นก็พัฒนาขยายออกไปตลอดช่วงชีวิต  ทารกมีความสามารถแยกความแตกต่างของบุคคลได้อย่างรวดเร็ว  ภายในเดือนเดียวก็สามารถแยกมารดาจากผู้หญิงคนอื่นได้  และภายในสองปีก็สามารถจำแนกกลุ่มคนได้ รู้ว่ากลุ่มใดเป็นหญิง กลุ่มใดเป็นชาย  กลุ่มใดเป็นเด็ก กลุ่มใดเป็นผู้ใหญ่ ความสามารถในการแยกแยะความแตกต่างของมนุษย์มีความสำคัญต่อการอยู่รอด เพราะทำให้พวกเขาทราบว่ามีใครบ้างที่จะช่วยเหลือเกื้อกูล และใครบ้างที่จะทำร้ายหรือทำลาย   ความสามารถและวิธีการในการจำแนกของมนุษย์เกิดจากข้อมูลข่าวสารที่พวกเขาได้จากการอบรบกล่อมเกลาของครอบครัว กลุ่มเพื่อนชุมชน และสังคมที่พวกเขาสังกัดในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งบทเรียนจากประสบการณ์ส่วนบุคคลของเขาเอง  สิ่งเหล่านี้ทำให้มนุษย์ทราบว่าใครคือคนที่พวกเขารัก ชอบ ชื่นชม และเคารพนับถือ  และใครคือบุคคลที่น่ารังเกียจ น่ากลัว หรือน่าชิงชัง ในยุคโบราณ มนุษย์พบปะผู้คนเพียงไม่กี่ร้อยคนในช่วงชี

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย ปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

ปฏิรูปความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                 ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ มนุษย์ส่วนใหญ่มีความคิดและเชื่อว่าตนเองเป็นเผ่าพันธุ์พิเศษมีอภิสิทธิ์เหนือเผ่าพันธุ์อื่นที่อยู่ในโลกใบนี้ ดังนั้นมนุษย์จึงปฏิบัติต่อธรรมชาติในฐานะที่เป็นทรัพยากรและเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน  ความพึงพอใจ  ความสะดวกสบาย และความอยู่รอด    การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทำลายล้างจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย  จนในที่สุดก็เกิดผลกระทบย้อนกลับมาคุกคามการอยู่รอดของมนุษย์เอง                 การทำลายล้างธรรมชาติและเผ่าพันธุ์อื่นๆโดยน้ำมือของมนุษย์เกิดขึ้นมากมายนับตั้งแต่มนุษย์ได้สร้างอารยธรรมขึ้นมาในอดีตอันยาวไกลจวบจนถึงปัจจุบัน  จนทำให้เผ่าพันธุ์ของสัตว์และพืชหลากหลายชนิดถูกขจัดจนหายสาบสูญไป  และเมื่อมนุษย์ได้ทำลายล้างธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงตนเองจนหมดสิ้นแล้ว  หายนะก็คืบคลานมาเยือนมนุษย์ และนั่นก็จะทำให้มนุษย์พบชะตากรรมเดียวกับสิ่งที่พวกเขาทำลาย                 มีอารยธรรมหลายแห่งในอดีตพบจุดจบ หายสาบสูญไปด้วยเหตุที่ผู้มีอำนาจและประชาชนในสังคมนั้นร่วมกันทำ

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ว่าด้วย ตรรกะของความเหมาะสม

ตรรกะของความเหมาะสม พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต โดยปกติตรรกะหลักที่มนุษย์ใช้ในการปฏิบัติมีสองประเภทคือตรรกะของความเหมาะสม กับตรรกของผลสืบเนื่อง  ตรรกะของความเหมาะสมเป็นเรื่องที่มนุษย์นำมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจกระทำหรือไม่กระทำโดยอ้างอิงกับบทบาทหน้าที่และบริบทของสังคม  ส่วนตรรกะของผลสืบเนื่องนั้นมีสาระหลักว่า มนุษย์ตัดสินใจกระทำโดยพิจารณาว่าผลสืบเนื่องที่ตนเองได้รับคืออะไร หากมนุษย์ประเมินว่าผลสืบเนื่องเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ก็จะกระทำ  แต่หากประเมินแล้วว่า การทำสิ่งใดทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ ก็จะไม่ทำ ตรรกะของความเหมาะสมเป็นกฎเกณฑ์หรือปทัสถานทางสังคมซึ่งมีอยู่สองประเภทใหญ่ๆคือ ตรรกะของความเหมาะสมแบบทั่วไปที่สมาชิกทุกคนในสังคมอ้างอิงร่วมกันในการกระทำทางสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง กับตรรกะของความเหมาะสมแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์หรือปทัสถานทางสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ ตรรกะของความเหมาะสมแบบทั่วไปที่พลเมืองในแต่ละสังคมกำหนดขึ้นมาอาจมีความแตกต่างกัน บางสังคมกำหนดให้สมาชิกแต่ละคนปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมและเคารพซึ่งกันและกัน  ไม่ว่าจะมีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกันเพียงใดก็ตาม