ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สรุปแนวคิดพหุวัฒนธรรม สิทธิชนกลุ่มน้อย และความสมานฉันท์


สรุปแนวคิดหลักๆจากบทความมีดังนี้ครับ เพื่อช่วยให้เพื่อนๆอ่านง่ายยิ่งขึ้น
1. แนวคิดเสรีนิยมที่มีต่อชนกลุ่มน้อยมีความผิดพลาดเพราะเน้นเรื่องสิทธิของปัจเจกชนทั่วไปในสังคม ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาของชน กลุ่มน้อยซึ่งมีปัญหาที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ของสังคมได้
2 คิมลิคคา เสนอ ว่าต้องใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรมนิยม มาเป็นแนวทางในการแก้ไข  โดย เขาจเริ่มมจากกการจำแนกชนกลุ่มน้อยออกเป็นสองกลุ่ม
          1)  ชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ  เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้นมานาน  เช่น  อินเดียแดงในสหรัฐอเมริกา
          2)  ชนกลุ่มน้อยเชิงชาติพันธุ็   เป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาอยู่ในแผ่นดินนั้นภายหลัง  เช่น  คนจีน คนฝรั่งเศส ในแคนาดา
3 สิทธิของชนกลุ่มน้อยมี 3  ประเภทหลัก
       1)  สิทธิในการปกครองตนเอง  ในรูปแบบเขตปกครองตนเองพิเศษ  สิทธินี้ให้เฉพาะชนกลุ่มน้อยแห่งชาติเท่านั้น
       2)  สิทธิในการรักษาความหลากหลายวัฒนธรรม  ให้ทั้งสองกลุ่ม  สิทธินี้นำไปสู่การที่รัฐบาลต้องสนับสนุนการใช้ภาษาชนกลุ่มน้อย สนับสนุนงบประมาณในการรักษาวัฒนธรมและอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย  และการจัดกิจกรรมของชนกลุ่มน้อย
      3  สิทธิในการเป็นตัวแทนในสถาบันทางการเมืองระดับชาติ เพื่อเป็นปากเสียงแทนชนกลุ่มน้อยในการป้องกันไม่ให้ชนส่วนใหญ่ออกกฎหมายรังแกหรือจำกัดสิทธิต่างๆ   และยังเป็นการป้องกันไม่ให้กลุ่มผู้นำในชนกลุ่มน้อยออกกฎระเบียบที่จำกัดเสรีภาพของสมาชิกกลุ่ม  สิทธิประการที่สาม ให้ทั้งสองกลุ่ม 


เมื่อชนกลุ่มน้อยได้สิทธิเหล่านี้พวกเขาก็มีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง และมีอำนาจในการจัดการตนเองได้ระดับหนึ่ง  ไม่ถูกทำให้ด้อยศักดิ์ศรีลงจากคนส่วนใหญ่  จึงนำไปสู้่การทำให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคมครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

ความผิดพลาดของมนุษย์ตามแนวคิดของ ฟรานซิส เบคอน

ความผิดพลาดของมนุษย์ : ชนเผ่า ถ้ำ ตลาด และโรงมหรสพ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะนี้  ยิ่งทำให้เห็นความจริงประการหนึ่งว่า ทะเลแห่งความมืดบอดของสังคมไทยนับวันจะขยายตัวออกไปมากขึ้น   และเกาะแห่งปัญญานับวันจะลดน้อยถอยลง  หากภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไปนานเท่าไร  ก็ยิ่งทำให้ทะเลแห่งความมืดบอดมีโอกาสกลืนกินเกาะแห่งปัญญาจนหมดสิ้นในไม่ช้า  ผมไปอ่านงานของนักปรัชญาท่านหนึ่ง  เห็นว่ามีความน่าสนใจโดยเฉพาะการวิเคราะห์เกี่ยวกับความผิดพลาดทางปัญญาและการให้เหตุผลของมนุษย์   ซึ่งทำให้เราต้องนำมาทบทวน ระมัดระวัง จะได้ไม่ตกอยู่ในความผิดพลาดนั้น   เพื่อจะได้พัฒนาปัญญาของตนเองให้กระจ่างชัด และมีหนทางในการนำพาสังคมให้หลุดพ้นจากทะเลแห่งความมืดบอดต่อไป ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาชาวอังกฤษซึ่งมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561 ถึง 1626   วิเคราะห์จำแนกสาเหตุของความผิดพลาดในการใช้เหตุผลของมนุษย์ออกเป็นสี่แบบ  ได้แก่ ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของชนเผ่า ( Idols of the Tribe)    ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของถ้ำ ( Idols of the Cave)   ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของตลาด (Idols of the Market-place)   และความผิดพลาด

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั