เข้าใจแบบชาวบ้านกับอำนาจและความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญ
1. การแก้รัฐธรรมนูญมาตรา291. ของพรรคเพื่อไทยและสว.บางส่วน. เป็นการแก้มาตราที่ "ว่าด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ". ครับ. มาตรา 291 บัญญัติวิธีการแก้ไว้อาลัย. แต่ ส.ส.เสียงข้างมากไปรื้อถอนวิธีการเหล่านั้น. และแก้ใหม่ โดยให้มี"การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่". หมายความเป็นการแก้รัฐธรรมนูญ ปี 2550. เพื่อ ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ปี 2550. นั่นเอง.
ด้วยเหตุนี้การทำของส.ส.เสียงข้างจึงอาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข. ขัดกับมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ. ที่บอกว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพล้มล้างรัฐธรรมนูญไม่ได้. และ. ใครพบเห็นเหตุการณ์นี้สามารถยื่นเรื่องให้อัยการตรวจสอบและยื่นให้ศาลรัฐธรรมวินิจฉัย สั่งการให้เลิกกระทำดังกล่าวได้
ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญ. จึงมีอำนาจสั่งการให้หยุดการกระทำนั้นได้ครับ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68
2 มีกลุ่มคนหลายกลุ่มเช่น สว.กลุ่ม40 กลุ่มคุณวริน เทียมจรัส อดีตสว. กลุ่มพันธมิตร ส่งคำร้องไปที่อัยการ. เพื่อให้อัยการสอบสวน และส่งต่อให้. ศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า. การแก้รัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญทำได้หรือไม่. เป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่.
3 แต่ปรากฎว่ายื่นไปเป็นเวลานานแล้ว อัยการสูงสุดไม่เร่งรัดดำเนินการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองได้. ประชาชนบางกลุ่มจึงอาศัยช่องทางตามมาตรา 212 ของรัฐธรรมนูญ. ใช้สิทธิยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะมาตรานี้ระบุว่า หากประชาชนถูกละเมิดสิทธิ แล้วไม่มีช่องทางอื่นแล้วให้ใช้ช่องทางนี้ ตามพรบ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรนูญ
(การแก้รัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างร้ายแรงครับ. เพราะรัฐธรรมกำหนดสิทธิประชาชนไว้หลายอย่าง และไม่มีหลักประกันอะไรว่า ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะคงสิทธิเหล่านั้นไว้. รวมทั้งอาจเป็นการล้มล้างระบอบปกครองประชาธิปไตย ซึ่งเท่ากับเป็นการทำลายสิทธิทั้งหมดของประชาชน)
4.ศาลรัฐธรรมนูญอาศัยอำนาจตามมาตรา. 212 นี้ครับ รับคำร้องของประชาชน. เป็นอำนาจที่มีการรับรองอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญครับ. ไม่ใช่เป็นการแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติแต่อย่างใด
5.ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากวินิจฉัยแล้ว เห็นว่า. การกระทำของพรรคเพื่อไทยและสว.บางส่วนที่อาจเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. และหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ประเทศ. ดังนั้นจึงสั่งการตามอำนาจที่มีในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ครับ หาได้ใช้อำนาจตามอำเภอใจอย่างที่มีการโจมตีจากพวกกลุ่มเสื้อแดงแต่อย่างใด
6.ศาลรัฐธรรมนูญจึงสั่งการให้ ระงับการลงมติการแก้รัฐธรรมนูญในวาระสามไว้ก่อน. เพื่อไต่สวนในต้นเดือนกรกฎาคม 2555. เมื่อไต่สวนเสร็จก็จะวินิจฉัยว่า. การทำของพรรคเพื่อไทยและสว. บางส่วน. เป็นการล้มล้างระบอบการปกครองหรือไม่
7 สรุปว่า. การกระทำครั้งนี้ของศาลรัฐธรรมนูญ กระทำโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญทุกประการ. และเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรม. รวมทั้งเป็นการทำด้วยเจตนารักษกฎหมาย รักษารัฐธรรมนูญ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขครับ
8 ดังนั้น ใครขัดขวางหรือไม่ทำตามการสั่งการของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้. จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ครับ. ใครยุยงไม่ให้ผู้อื่นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับยุยงให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมายเช่นเดียวกันครับ.
9 ใครไม่ฟังคำสั่งการของศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ2550 ผิดกฎหมายแน่นอนครับ และมีโอกาสติดคุกหากเชื่อและทำตามคำยุยง ของผู้อื่นให้ละเมิดคำสั่งนี้
วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2
บทวิจารณ์หนังสือ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE จำนวน 208 หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก ในปี 1967 Glaser และ Strauss ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง การวิจัยเชิงคุณ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น