ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

การเมืองไทยในมุมมองของชนชั้นกลาง

การเมืองไทยในมุมมองของชนชั้นกลาง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                     มีความสงสัยเกิดขึ้นแก่บรรดาชาวต่างประเทศไม่น้อยที่สังเกตการเมืองไทย พวกเขาแปลกประหลาดใจว่าทำไมชนชั้นกลางไทยจึงต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยเฉพาะรัฐบาลทักษิณช่วง ค.ศ. 2001 – 2006 และรัฐบาลที่เป็นพวกพ้องและเครือญาติของทักษิณอีกหลายชุดหลังจากนั้น  บทความนี้จะทำความเข้าใจและอธิบายความคิดทางการเมืองของชนชั้นกลางไทย และเหตุผลที่พวกเขาต่อต้านระบอบทักษิณ           นับตั้งแต่ ค.ศ. 1932 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้สถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาขึ้นมาสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้ง   แต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนในสังคมมีการผสมปนระหว่างความสับสนความรู้สึกไม่มั่นคงและความคาดหวัง   การเปลี่ยนแปลงครั้งแรกใน ค.ศ. 1932 เป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของสังคมไทยจากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่ระบอบประชาธิปไตย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นข้าราชการระดับกลางทั้งพลเรือนและทหารซึ่งได้รับอิทธิพลทางความคิดจากระบอบประชาธิไตยของประเทศตะวันตก หากกล่าวในเชิงชนชั้นกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงเหล