ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2012

สรุปแนวคิดพหุวัฒนธรรม สิทธิชนกลุ่มน้อย และความสมานฉันท์

สรุปแนวคิดหลักๆจากบทความมีดังนี้ครับ เพื่อช่วยให้เพื่อนๆอ่านง่ายยิ่งขึ้น 1. แนวคิดเสรีนิยมที่มีต่อชนกลุ่มน้อยมีความผิดพลาดเพราะเน้นเรื่องสิทธิของปัจเจกชนทั่วไปในสังคม ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาของชน กลุ่มน้อยซึ่งมีปัญหาที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ของสังคมได้ 2 คิมลิคคา เสนอ ว่าต้องใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรมนิยม มาเป็นแนวทางในการแก้ไข  โดย เขาจเริ่มมจากกการจำแนกชนกลุ่มน้อยออกเป็นสองกลุ่ม           1)  ชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ  เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้นมานาน  เช่น  อินเดียแดงในสหรัฐอเมริกา           2)  ชนกลุ่มน้อยเชิงชาติพันธุ็   เป็นชนกลุ่มน้อยที่อพยพมาอยู่ในแผ่นดินนั้นภายหลัง  เช่น  คนจีน คนฝรั่งเศส ในแคนาดา 3 สิทธิของชนกลุ่มน้อยมี 3  ประเภทหลัก        1)  สิทธิในการปกครองตนเอง  ในรูปแบบเขตปกครองตนเองพิเศษ  สิทธินี้ให้เฉพาะชนกลุ่มน้อยแห่งชาติเท่านั้น        2)  สิทธิในการรักษาความหลากหลายวัฒนธรรม  ให้ทั้งสองกลุ่ม  สิทธินี้นำไปสู่การที่รัฐบาลต้องสนับสนุนการใช้ภาษาชนกลุ่มน้อย สนับสนุนงบประมาณในการรักษาวัฒนธรมและอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย  และการจัดกิจกรรมของชนกลุ่มน้อย       3  สิทธิในการเ

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์          พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากความขัดแย้งของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอุดมการณ์ เรื่องเชื้อชาติและศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้  และปัญหาแรงงานอพยพที่นับวันจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องนำเสนอความคิดทางสังคมการเมืองซึ่งอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเพื่อทำให้สังคมลดความขัดแย้ง  สร้างการบูรณาการ และความสมานฉันท์อย่างเป็นระบบขึ้นมา   เนื่องจากแนวความคิดนี้มีความยาวและต้องทำความเข้าใจในหลายมิติ ผู้เขียนพยามยามนำเสนอให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ          พหุวัฒนธรรมนิยม ( multiculturalism) เป็นแนวคิดคู่แข่งทางวิชาการและนโยบายของลัทธิชาตินิยม ( nationalism)      นักวิชาการเริ่มใช้คำนี้ประมาณทศวรรษ 1960  เพื่ออธิบายนโยบายสาธารณะใหม่ ในประเทศแคนาดา ต่อมาขยายไปสู่ประเทศออสเตรเลีย  การพัฒนาการของแนวคิดนี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยของรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation) ไปสู่นโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้วัฒ

ประชาธิปไตยของบัวเหล่าที่สี่

ประชาธิปไตยของบัวเหล่าที่สี่ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในห้วงเวลาทางการเมืองที่ยาวนานโดยสัมพัทธ์ของประเทศไทยระหว่างนี้   เรามีบุคคล 2 คน ซึ่งมีความโดดเด่นในเวทีสื่อมวลชน พวกเขา ปรากฏตัว พูด กล่าว กระทำ แสดงบทบาทอย่างต่อเนื่อง   ผมกำลังกล่าวถึงคุณยิ่งลักษณ์กับ คุณเฉลิม    อันเป็นสตรีและบุรุษที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดจากประชาคม ชุมชนของชาวไทย ณ ปัจจุบันกาล การแสดงออกทางวาจา การตัดสินใจ และการกระทำที่สตรีและบุรุษทั้งสองดำเนินการผ่านสื่อมวลชน  เป็นการผสมผสานที่ลงตัวระหว่างความสนธยาแห่งภูมิปัญญากับความเจิดจ้าของความยะโสโอหัง     อันเป็นภาพสะท้อนของการห่อหุ้มสิ่งที่ด้อยค่าหรือไร้ค่าด้วยตำแหน่งที่สูงส่ง คุณยิ่งลักษณ์ห่อหุ้มด้วยอาภรณ์ที่ดูมีราคา   ใบหน้าของเธอมักประดับด้วยรอยยิ้ม  ยกเว้นตอนที่กำลังเผชิญกับคำถามที่เกินความเข้าใจหรือความรู้ที่มีอยู่  ถึงกระนั้นเธอก็มิได้แสดงอาการก้าวร้าวในการตอบโต้ ด้วยความที่เธอเป็นคนสุภาพจึงเลี่ยงสถานการณ์อันไม่น่าพึงปรารถนานั้นด้วยการเดินหนีหรือยุติการสื่อสารกับบรรดาผู้สื่อข่าวที่รุมล้อมเธอ อย่างไรก็ตาม ผู้คนในสังคมมีความคาดหวังต่อบุคคล

อย่าฝากความหวังกับเผ่าพันธุ์นักการเมือง

อย่าหวังกับเผ่าพันธุ์นักการเมือง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สังคมไทยเผชิญกับวิกฤติการณ์หลายครั้ง  แต่ละครั้งทำให้เราเห็นลักษณะที่แท้จริงของผู้บริหารบ้านเมืองทั้งในด้านวิธีคิดและพฤติกรรมอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น   การเรียนรู้ที่เราได้รับเพิ่มขึ้นนำมาสู่ข้อสรุปที่สำคัญว่าเผ่าพันธุ์ของนักการเมืองไทยในปัจจุบันไม่เหมาะสมสำหรับการบริหารประเทศชาติ  การสร้างสรรค์ประเทศใหม่จะเป็นไปได้จักต้องมีผู้บริหารประเทศที่มีคุณภาพใหม่  และกระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นและโบกสะบัดแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  นักการเมืองส่วนใหญ่และข้าราชการประจำระดับสูงมีวิธีคิดในการรับรู้ปัญหาโดยใช้ตนเองเป็นศูนย์กลาง อันเกิดจากบาปที่ชั่วร้ายแห่งความหยิ่งยะโส ( sin of pride)   บาปประเภทนี้ โทมัส มอร์ นักปรัชญาชาวอังกฤษผู้เขียนหนังสือชื่อ “ยูโทเปีย” หรือ “สังคมอุดมคติ” ชี้ว่า เป็นบาปที่นำพามาซึ่งความหายนะของสังคม เพราะผู้ที่หยิ่งยะโสจะปิดกั้นความเป็นจริงที่หลากหลาย  ปิดกั้นการฟังความคิดของผู้อื่น และปิดกั้นการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น  เมื่อปิดกั้นสิ่งเหล่านี้ผู้บริหารที่หยิ่งยะโสก็ตัดสินใจภายใต้ฐานคิดและความเชื่อที

อันตรายของพรรคการเมืองแฝงฝังของทุนนิยมสามานย์

อันตรายของพรรคการเมืองแฝงฝังของทุนนิยมสามานย์ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ปรากฏการณ์ทางการเมืองหลายประการของประเทศไทยมีความแปลกประหลาดที่ไม่สามารถใช้เหตุผลและตรรกะทั่วไปอธิบายได้   เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นมีลักษณะของความขัดแย้งแฝงฝังอยู่ภายในตัวเอง    เช่น การที่ผู้คนในสังคมไทยจำนวนมากบอกว่าประเทศไทยต้องเป็นประชาธิปไตย   ประกาศว่าตนเองรักและเชิดชูประชาธิปไตย  และเดินตามแนวทางและหลักการของประชาธิปไตย   แต่สิ่งที่พวกเขาทำกลับตรงข้ามกับสิ่งที่พวกเขาบอกและประกาศออกมา   เราจำต้องทราบลักษณะความขัดแย้งแฝงฝังภายในตนเองของการเมืองไทยเพื่อจะได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าลักษณะการเมืองเช่นนี้เป็นความหวังที่จะนำพาประเทศชาติให้พ้นจากความหายนะและนำไปสู่ความรุ่งเรือง   หรือจะนำพาสังคมไทยจมดิ่งสู่ห้วงเหวลึกแห่งความเสื่อมโทรม ความพินาศและความยากเข็ญ เริ่มจากพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามประชาชน    และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบอบประชาธิปไตยให้เกิดความเข้มแข็งหรืออ่อนแอ     ประวัติศาสตร์ของหลายหลายประเทศได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดว่าหากพรรคการเมืองมีความขัดแย้งแฝงฝังภายในตัวเองกับระ