การเสนอปรับที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยนิติราษฎร์และอุกฤษณ์ มงคลนาวิน มีฐานคิดเดียวกันคือ การให้ฝ่ายการเมืองเป็นผู้เลือกศาลรัฐธรมนูญ โดยอ้างว่าจะทำให้ื่อมโยงกับประชาชน
ข้อเสนอนี้นอกจะจะแสดงถึงความไร้เดียงสาไม่เข้าใจบริบททางการเมืองไทยแล้ว ยังเป็นการเสนอที่สร้างภาวะการขัดกันของผลประโยชน์. เพราะหน้าที่หลักของศาลรัฐธรรมนูญคือการวินิจฉัยและตัดสินเกี่ยวกับการละเมิดรัฐธรรมนูญ. ซึ่งกลุ่มที่ละเมิดรัฐธรรมนูญมากที่สุดดีือนักการเมือง.
ดังนั้นหากให้นักการเมืองเลือกผู้ที่มาตัดสินความผิดของตนเอง พวกเขาก็ย่อมมีแนวโน้มเลือกคนที่เป็นพวกหรือสนับสนุนตนเอง. ซึ่งจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างมีอคติสูง
ยิ่งกว่านั้นยังทำให้นักการเมืองสามารถแทรกแซงและครอบงำกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขัดกับหลักการถ่วงดุลย์ของอำนาจอีกด้วย
ข้อเสนอของกลุ่มบุคคลและบุคคลดังกล่าว. จึงเป็นข้อเสนอที่เพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง. เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายการเมือง ขณะที่บ่อนทำลายอำนาจในการตรวจสอบนักการเมืองของสังคมให้ลดน้อยลง. ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย
วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2
บทวิจารณ์หนังสือ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz 2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE จำนวน 208 หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก ในปี 1967 Glaser และ Strauss ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง การวิจัยเชิงคุณ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น