ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

รัฐบาลกำลังล่มสลาย

รัฐบาลกำลังล่มสลาย พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ระยะนี้กระแสต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณได้เพิ่มระดับความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆและแพร่ขยายกระจายตัวออกไปกว้างขวางในทุกแวดวงของสังคมไทย  การแสดงออกของการต่อต้านมีหลากหลายรูปแบบและมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง  จนทำให้รัฐบาลเกิดภาวะสั่นคลอนอย่างไม่เคยมีมาก่อน และความล่มสลายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะเกิดขึ้นในอีกไม่นาน ร่องรอยของความเสื่อม ทรุด และล่มสลายของรัฐบาลเห็นได้อย่างชัดเจนจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยนิด้าโพลเมื่อเร็วๆนี้ซึ่งพบว่ามีประชาชนเพียงร้อยละ 11.83 เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ครบสี่ปี  ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ไม่ครบสี่ปี สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกเหตุถึงภาวะความตกต่ำเสื่อมโทรมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นับวันปรากฏออกมาด้วยความถี่บ่อยครั้งยิ่งขึ้น  เช่น การตั้งใจไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ของนายกรัฐมนตรีถึงประเทศศรีลังกา  และการคุกคามสื่อมวลชนโดยการฟ้องคุณชัย ราชวัตร นักหนังสือพิมพ์อาวุโส     การแสดงความก้าวร้าว ดูถูก เหยียดหยาม ประชาชนของรองนายกรัฐมนตรี    การไม่มีคนฟังเมื่อไปจัดปราศรัยที่จังหวัดเ

จุดจบทรราช คาดว่าไม่เกินสิ้นปีนี้

    จุดจบทรราช คาดว่าไม่เกินสิ้นปีนี้ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                 ด้วยความจริงที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เป็นปราการอันแข็งแกร่งในการปกป้องหลักนิติธรรมจากการทำลายล้างของทุนนิยมสามานย์ลัทธิเสื้อแดง     ทั้งยังมีพลังในการหยุดยั้งการสถาปนาอำนาจแห่งทรราชเสียงข้างมากของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอันเป็นหุ่นเชิดของอาชญากรหนีคุก       และได้ขยายสิทธิและอำนาจของประชาชนในการตรวจสอบการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่เป็นผู้รับใช้ประดุจดั่งข้าทาสของอาชญากรทรราชจอมบงการที่อยู่นอกประเทศ               ทรราชจอมบงการและผู้รับใช้จึงประกาศศึกสงครามกับศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้อย่างเปิดเผยดั่งสุกรไม่กลัวน้ำร้อน   พร้อมกันนั้นก็ระดมสรรพกำลังเปิดฉากรุกไล่และโจมตีศาลรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง               เมื่อทรราชจอมบงการสั่งให้บรรดาผู้รับใช้ที่อยู่ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อลิดรอนสิทธิและอำนาจของประชาชนอันเป็นการปูทางเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับในอนาคต      นายสมชาย แสวงการ สว.อันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติผู้มีความเป็นอิสระและไม่ใช่ข้าทาสของทรราชจอมบงการจึ

การเมืองแห่งความกลัวและความเพ้อฝัน

การเมืองแห่งความกลัวและความเพ้อฝัน โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 1 มีนาคม 2556 19:35 น ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในยุคสมัยแห่งปัจจุบันเงื่อนไขหลักที่ชี้นำการตัดสินใจและแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ดูเหมือนเป็น “ความคิดที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ความกลัวและความเพ้อฝัน” การตัดสินใจทางการเมืองหรือแม้แต่ทางเศรษฐกิจดูเหมือนเป็นตัวอย่างของการแสดงออกถึงภาวะเช่นนั้นเป็นอย่างดี เมื่อมนุษย์การยอมรับสมมุติฐานหรือความเชื่อโดยปราศจากการใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ พวกเขาก็ก้าวไปสู่การมีอารมณ์ความกลัวและความเพ้อฝันขึ้นมาครอบงำจิตใจ ความมืดมัวของจิตก็เกิดขึ้นตามมา และเมื่อมีการตัดสินใจและลงมือกระทำก็นำไปสู่ความพลาดพลั้งได้โดยง่าย ผู้คนได้แสดงมายากลทางความคิดและมายาคติของความเป็นเหตุผล ซึ่งผลิตออกมาแอบแฝงไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมอันแรวพราวและเต็มไปด้วยกับดักหลุมพรางให้ผู้คนเดินตกลงไป เมื่อผู้คนติดกับดักทางความคิดใดแล้ว ความคิดนั้นก็ไปกระตุ้นอารมณ์กลัวและเพ้อฝันให้บังเกิดขึ้นมา และความคิดก็หลอกลวงต่อไปว่าอารมณ์นั้นคือเหตุผล

การเมืองเรื่องโพล

การเมืองเรื่องโพล โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 8 กุมภาพันธ์ 2556 19:44 น. ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังถูกท่วมท้นด้วยโพลประเภทต่างๆ มากมาย จากหลากหลายสำนัก โดยปกติแต่ละสัปดาห์ก็จะมีการแจกจ่ายข่าวเกี่ยวกับผลของโพลในเรื่องราวต่างๆอยู่แล้ว และปริมาณการทำโพลจะมีแนวโน้มมากขึ้นในช่วงเทศกาลการเลือกตั้ง โพลเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวความคิดเห็น ความความรู้สึก ความเชื่อของบุคคลต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทางสังคม และยังเป็นการสำรวจพฤติกรรมในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งความตั้งใจต่อการแสดงพฤติกรรมในอนาคตของบุคคลอีกด้วย เช่น ความตั้งใจในการเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง เมื่อโพลเป็นการวิจัยรูปแบบหนึ่ง เป้าประสงค์ของการทำโพลที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการแสวงหาความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้คนในสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ส่วนการจะนำความจริงเหล่านั้นไปทำอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ทำโพลและมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออะไร ในประเทศไทยกลุ่ม

เหตุผลของผู้เลือกตั้งไทย

เหตุผลของผู้เลือกตั้งไทย โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 1 กุมภาพันธ์ 2556 23:17 น. ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกใครเป็นตัวแทนไม่ว่าระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ประชาชนมีเหตุผลในการตัดสินใจที่สำคัญอย่างน้อยสี่เหตุผล คือ เหตุผลเชิงอรรถประโยชน์สูงสุด เหตุผลเชิงความผูกพัน เหตุผลเชิงหลักการคุณธรรม และเหตุผลในเชิงการลดความเสี่ยง นักการเมืองจำนวนมากมักจะเข้าใจแบบเหมารวมว่า ประชาชนใช้ทางเลือกเชิงเหตุผลทางเศรษฐกิจแบบคับแคบ ที่ใช้อรรถประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ผลจากความเข้าใจแบบนี้ของนักการเมืองทำให้พวกเขาแข่งขันกันผลิตนโยบายประชานิยมออกมานำเสนอแก่ประชาชน โดยมีความเชื่อการผลิตนโยบายประชานิยมหลากหลายประเภท เพื่อตอบสนองแก่คนหลากหลายกลุ่ม และด้วยมูลค่าที่สูงกว่าจะจูงใจให้ประชาชนเลือกพวกเขา การแข่งขันของพรรคการเมืองและผู้สมัครในการนำเสนอนโยบายประชานิยม บางกรณีเป็นการเสนอแบบสุดโต่งและยากจะเป็นไปได้ แต่ผู้เลือกตั้งหาได้ไร้เดียงสา
วาทศิลป์สิ้นคิดในการเลือกตั้งผู้ว่า ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2556 20:07 น. ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในท่ามกลางการใช้วาทศิลป์และการแสดงละครเพื่อโน้มน้าวจูงใจผู้คนให้เลื่อมใสนิยมชมชอบตนเองของบรรดานักการเมืองผู้ปรารถนาเข้าไปครองอำนาจในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผมใคร่ขอเสนอหลักคิดในการพิจารณาว่าวาทศิลป์เหล่านั้นมีกับดักและหลุมพรางในลักษณะใดบ้าง นับตั้งแต่มีการเปิดตัวผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ การหาเสียงของบรรดาผู้สมัครเหล่านั้นที่ผมได้ยินและเห็นในหน้าสื่อมวลชนและตามท้องถนนมากที่สุดน่าจะเป็นของผู้สมัครพรรคเพื่อไทย รองลงมาคือผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ และ ผู้สมัครอิสระบางคน เช่น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส เป็นต้น แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเพียงวาทศิลป์ที่ผมคิดว่าเป็นวาทศิลป์เด่นเท่านั้น ผู้สมัครแต่ละคนเปิดตัวโหมโรงในการหาเสียงโดยมีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยเริ่มจากการใช้วาทศิลป์เชิงยุทธศาสตร์ว่า การบริหารที่ไร้รอยต่อŽ ระหว่างกรุงเทพมหานครกับรัฐบาลกลาง จากนั้นต

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

เส้นทางการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพ

4 เส้นทางการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ชาว กรุงเทพมหานครกำลังอยู่ในห้วงเวลาแห่งการพิจารณาคัดเลือกผู้บริหารคนใหม่แทน ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ซึ่งบริหารงานมาครบวาระสี่ปีเต็ม  การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุ งเทพมหานครคนใหม่จะเกิดขึ้นใน ต้นเดือนมีนาคม 2556      ช่วงเวลานี้ผมคิดว่า การทำความเข้าใจลักษณะของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯเป็นเรื่องที่น่าสนใจ   จึงนำเรื่องราวทางป ระวัติศาสตร์บางประการ มาเล่าสู่กันฟัง การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ  10  สิงหาคม  2518     นายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ได้รับเลือกด้วยคะแนน   99,247 18   คะแนน  ในครั้งนั้นมีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ  13.86  ของผู้มีสิทธิทั้งหมด   แต่ต่อมาในวันที่  29  เมษายน  2520   นายธรรมนูญ ถูกปลดจากตำแหน่งและรัฐบาลยุคนั้นได้ยกเลิก ระบบ การเลือกตั้งและใช้การแต่งตั้งแทน ระบบการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯมหานครถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในปี  2528   และ มีการเลือกตั้งครั้งแรก ภายใต้ระบบใหม่ เมื่อวันที่  14  พฤศจิกายน   2528      จากนั้นก็มีการเลือกตั้งอย่างต่อเน ื่อ