ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รัฐบาลกำลังล่มสลาย

รัฐบาลกำลังล่มสลาย
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ระยะนี้กระแสต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณได้เพิ่มระดับความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆและแพร่ขยายกระจายตัวออกไปกว้างขวางในทุกแวดวงของสังคมไทย  การแสดงออกของการต่อต้านมีหลากหลายรูปแบบและมีการกระทำอย่างต่อเนื่อง  จนทำให้รัฐบาลเกิดภาวะสั่นคลอนอย่างไม่เคยมีมาก่อน และความล่มสลายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะเกิดขึ้นในอีกไม่นาน
ร่องรอยของความเสื่อม ทรุด และล่มสลายของรัฐบาลเห็นได้อย่างชัดเจนจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนโดยนิด้าโพลเมื่อเร็วๆนี้ซึ่งพบว่ามีประชาชนเพียงร้อยละ 11.83 เท่านั้นที่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ครบสี่ปี  ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอยู่ไม่ครบสี่ปี
สิ่งที่เป็นสัญญาณบอกเหตุถึงภาวะความตกต่ำเสื่อมโทรมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นับวันปรากฏออกมาด้วยความถี่บ่อยครั้งยิ่งขึ้น  เช่น การตั้งใจไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์ของนายกรัฐมนตรีถึงประเทศศรีลังกา  และการคุกคามสื่อมวลชนโดยการฟ้องคุณชัย ราชวัตร นักหนังสือพิมพ์อาวุโส     การแสดงความก้าวร้าว ดูถูก เหยียดหยาม ประชาชนของรองนายกรัฐมนตรี    การไม่มีคนฟังเมื่อไปจัดปราศรัยที่จังหวัดเชียงรายของพรรคเพื่อไทย  และการที่ประชาชนเริ่มตอบโต้การกระทำอันไร้อารยะธรรมของมวลชนเสื้อแดง ที่จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นต้น
สัญญาณบอกเหตุข้างต้นสามารถจำแนกออกเป็น  3 กลุ่ม  คือ  กลุ่มแรก เป็นการสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นของภาวะจิตที่ไม่มั่นคงหรือจิตมีความแปรปรวนมากขึ้นของคนในรัฐบาล  ภาวะจิตแบบนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากความรู้สึกไม่มั่นใจในความมั่นคงของอำนาจที่ตนเองมีอยู่   อันทำให้ความหวาดระแวงต่อเรื่องราวและต่อผู้คนในสังคมจึงเพิ่มมากขึ้นไปด้วย   หากใครเขียนหรือพูดอะไรออกมา รัฐบาลก็มักจะโยงเข้าสู่ตนเอง ดุจวัวสันหลังหวะ หวาดระแวงยามมีวิหคบินผ่าน   จึงไล่ขวิดสะเปะสะปะไปเรื่อย   
ด้วยจิตที่แปรปรวน ลักษณะของอาการหวาดผวาแห่งการสูญสิ้นอำนาจจึงถูกแสดงออกมามากขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งในรูปของการไปทำพิธีกรรมทางไสยาศาสตร์เพื่อสะเดาะเคราะห์   การฟ้องร้องสื่อมวลชนด้วยเรื่องที่น่าขบขัน  และการตอบโต้ผู้คัดค้านด้วยความก้าวร้าวและรุนแรง      
สัญญาณกลุ่มที่สอง เป็นการบ่งบอกถึงการเสื่อมความนิยม อันเป็นผลมาจากความผิดหวังในผลงานของรัฐบาลโดยเฉพาะในการแก้ปัญหาค่าครองชีพ  กล่าวคือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้สัญญากับประชาชนว่าจะ “กระชากค่าครองชีพลง”  แต่สองปีผ่านไปสิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้ามกับสิ่งที่รัฐบาลสัญญาเอาไว้ ทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งที่เคยนิยมชมชอบรัฐบาลมาก่อนรู้สึกผิดหวังอย่างรุนแรง  
จากการสำรวจของอิสานโพล ในช่วงวันที่ 1-2 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ปรากฏว่าคนอิสานซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงของรัฐบาลรู้สึกผิดหวังต่อผลงานเรื่องการแก้ปัญหาค่าครองชีพของรัฐบาล ในระดับผิดหวังมากถึงร้อยละ 27.8   และรู้สึกค่อนข้างผิดหวังร้อยละ 67.8    ส่วนผู้ที่รู้สึกพอใจหรือไม่ผิดหวังต่อรัฐบาลเหลือเพียงร้อยละ 4.5 เท่านั้น 
แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแม้กระทั่งคนภาคอิสานซึ่งเคยให้การสนับสนุนรัฐบาลมาก่อน เมื่อถึงยามนี้ก็ยังรู้สึกเอือมระอากับการทำงานของรัฐบาล สิ่งที่ตามมาคือในอนาคตหากรัฐบาลจะจัดชุมนุมโดยเกณฑ์คนอิสานมาสนับสนุนตนเองดูจะทำได้ไม่ง่ายเหมือนดงในอดีตแล้ว  และมีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะส่งผลไปถึงการเลือกตั้งในอนาคตด้วย
สำหรับความรู้สึกของประชาชนในภาคเหนือแม้ว่าไม่มีการสำรวจอย่างเป็นระบบเหมือนภาคอิสาน แต่ปรากฏการณ์ของการที่มีประชาชนเข้าฟังการปราศรัยของพรรคเพื่อไทยที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2556 ซึ่งมีเพียงร้อยกว่าคนเท่านั้น  นับว่าเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเสื่อมถอยของความนิยมของประชาชนต่อรัฐบาลอย่างชัดเจน
หากพิจารณาแบบแผนของผู้เข้าร่วมฟังการปราศรัยของแกนนำเสื้อแดงพรรคเพื่อไทย ตามข่าวระบุว่าในช่วงแรกมีผู้เข้าร่วมลงชื่อเข้าฟังถึง 3-4 พันคน โดยการเกณฑ์ชาวบ้านจากหลายๆหมู่บ้านๆละ 20 คน  แต่หลังจากลงชื่อ  ชาวบ้านทยอยเดินทางกลับจนหอประชุมแทบร้างเหลือผู้ฟังเพียงประมาณร้อยกว่าคนเท่านั้น  
การที่ชาวบ้านไม่ยอมทนฟังการปราศรัยของแกนนำเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย แสดงว่าการที่พวกเขามาร่วมลงชื่อในตอนแรกนั้น  พวกเขาทำด้วยเหตุผลแบบหนึ่ง  แน่นอนว่าเป็นคนละเหตุผลกับพรรคเพื่อไทย  เมื่อพวกเขาบรรลุวัตถุประสงค์หลังจากลงชื่อเรียบร้อยแล้ว พวกเขาก็ไร้แรงจูงใจใดๆที่จะอยู่ฟังคำปราศรัยที่พวกเขาไม่สนใจหรือไม่ให้คุณค่าใดๆให้เสียเวลาต่อไปอีก  พวกเขาจึงทยอยกันเดินทางกลับออกไปทิ้งให้แกนนำเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยพูดกันเอง ฟังกันเอง อย่างว้าเหว่วังเวง  
สำหรับสัญญาณกลุ่มที่สามมีนัยถึงความกล้าหาญของประชาชนในการตอบโต้ต่อความป่าเถื่อนและไร้อารยะธรรมของมวลชนเสื้อแดง   โดยปกติประชาชนบางส่วนอาจมีความรู้สึกเกรงกลัวปนรังเกียจต่อพวกเสื้อแดงอยู่บ้าง เพราะคนเหล่านี้ประกอบไปด้วยกลุ่มอันธพาลหรืออาชญากรที่นิยมใช้ความรุนแรง เช่น  กลุ่มเสื้อดำ  หรือกลุ่มการ์ดเสื้อแดงอย่างนายศรชัย ศรีดี หรือจ่ายักษ์เล็ก อันเป็นผู้ต้องหาคดีสังหารนายบุญจริง พินิจ  เป็นต้น
               กลุ่มเสื้อแดงมีความเหิมเกริมและมักแสดงพฤติกรรมระรานผู้คนในสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะว่ากลุ่มคนเหล่านี้มีนิสัยนิยมความรุนแรงอันเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของตนเองเป็นทุนอยู่แล้ว เมื่อมาอยู่รวมเป็นกลุ่มซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่พื้นฐานนิสัยเหมือนกันก็เท่ากับเป็นการเสริมพลังด้านลบให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ดังนั้นก็ยิ่งทำให้ระดับความเข้มข้นของพฤติกรรมรุนแรงเพิ่มมากขึ้น   ผนวกกับการได้รับการสนับสนุนให้ท้ายจากรัฐบาล  ส.ส.พรรครัฐบาล และตำรวจ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะคุ้มกันอันธพาลเหล่านั้น        พวกอันธพาลเสื้อแดงจึงมีแนวโน้มก่ออาชญากรรมได้อย่างเสรีโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมืองแม้แต่น้อย
แต่ในที่สุดประชาชนพลเมืองในสังคมก็ไม่สามารถทนกับพฤติกรรมของอันธพาลเสื้อแดงได้อีกต่อไป  พวกเขาจึงลุกขึ้นมาใช้ความกล้าหาญตอบโต้กับพฤติกรรมที่ป่าเถื่อนของเสื้อแดง  เมื่อก่อนหากเสื้อแดงมาระรานทุกคนอาจจะเงียบ  แต่วันนี้ไม่ใช่อีกต่อไป  ประชาชนได้ร่วมกันขับไล่เหล่าอันธพาลจนแตกกระเจิงไปหลายครั้งหลายคราว
ประชาชนจำนวนมากในหลายกลุ่ม หลายวัย หลายอาชีพ หลายระดับ หลายชนชั้น บัดนี้ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจรัฐเผด็จการที่ใช้ประชาธิปไตยสามานย์บังหน้าและใช้มวลชนไว้ข่มขู่ผู้คนอย่างกล้าหาญและไม่ยอมจำนนอีกต่อไป  โดยพวกเขาใช้หน้ากากขาวเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้
สังคมไทยในยามนี้ กลางปีพุทธศักราช 2556  จึงเป็นสังคมที่บรรดาประชาชนผู้กล้าหาญได้แสดงตัวออกมาชัดเจนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ      แนวรบของการต่อสู้ขยายออกไปทุกปริมณฑลของสังคม ทั้งการต่อสู้ในอินเตอร์เน็ท  การต่อสู้ในเวทีต่างประเทศ  การต่อสู้ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงและหัวเมืองต่างๆ การต่อสู้ในโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม  หนังสือพิมพ์  และสื่อมวลชนกระแสหลัก เป็นต้น
รูปแบบการต่อสู้ได้มีการพัฒนาที่หลายหลายมากขึ้น  มีความเป็นพลวัตร ยืดหยุ่นตามสถานการณ์และบริบท ซึ่งทำให้พลังการต่อสู้สามารถส่งต่อและดำรงอยู่อย่างสืบเนื่องได้มากและนานขึ้น   และในที่สุดพลังการต่อสู้ของประชาชนจะสะสมกระแสและมวลแห่งพลังมากขึ้นเรื่อยๆ   
ด้วยเหตุนี้เราจึงอาจจะเห็นปรากฏการณ์ “สยามสปริง” ซึ่งจะกวาดเอา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ นักการเมืองทุนนิยมสามานย์ และสมุนอันธพาล จนล่มสลายตกเวทีประวัติศาสตร์ในอีกไม่นานเกินรอ
     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์          พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากความขัดแย้งของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอุดมการณ์ เรื่องเชื้อชาติและศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้  และปัญหาแรงงานอพยพที่นับวันจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องนำเสนอความคิดทางสังคมการเมืองซึ่งอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเพื่อทำให้สังคมลดความขัดแย้ง  สร้างการบูรณาการ และความสมานฉันท์อย่างเป็นระบบขึ้นมา   เนื่องจากแนวความคิดนี้มีความยาวและต้องทำความเข้าใจในหลายมิติ ผู้เขียนพยามยามนำเสนอให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ          พหุวัฒนธรรมนิยม ( multiculturalism) เป็นแนวคิดคู่แข่งทางวิชาการและนโยบายของลัทธิชาตินิยม ( nationalism)      นักวิชาการเริ่มใช้คำนี้ประมาณทศวรรษ 1960  เพื่ออธิบายนโยบายสาธารณะใหม่ ในประเทศแคนาดา ต่อมาขยายไปสู่ประเทศออสเตรเลีย  การพัฒนาการของแนวคิดนี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยของรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation) ไปสู่นโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้วัฒ