ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จุดจบทรราช คาดว่าไม่เกินสิ้นปีนี้


  จุดจบทรราช คาดว่าไม่เกินสิ้นปีนี้

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

 

              ด้วยความจริงที่ว่าศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้เป็นปราการอันแข็งแกร่งในการปกป้องหลักนิติธรรมจากการทำลายล้างของทุนนิยมสามานย์ลัทธิเสื้อแดง    ทั้งยังมีพลังในการหยุดยั้งการสถาปนาอำนาจแห่งทรราชเสียงข้างมากของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอันเป็นหุ่นเชิดของอาชญากรหนีคุก      และได้ขยายสิทธิและอำนาจของประชาชนในการตรวจสอบการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารที่เป็นผู้รับใช้ประดุจดั่งข้าทาสของอาชญากรทรราชจอมบงการที่อยู่นอกประเทศ

              ทรราชจอมบงการและผู้รับใช้จึงประกาศศึกสงครามกับศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้อย่างเปิดเผยดั่งสุกรไม่กลัวน้ำร้อน  พร้อมกันนั้นก็ระดมสรรพกำลังเปิดฉากรุกไล่และโจมตีศาลรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง

              เมื่อทรราชจอมบงการสั่งให้บรรดาผู้รับใช้ที่อยู่ฝ่ายนิติบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อลิดรอนสิทธิและอำนาจของประชาชนอันเป็นการปูทางเพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับในอนาคต    นายสมชาย แสวงการ สว.อันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติผู้มีความเป็นอิสระและไม่ใช่ข้าทาสของทรราชจอมบงการจึงนำเรื่องไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า การกระทำของบรรดาฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งผู้รับใช้ของทรราชจอมบงการเป็นการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการและส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

           ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นหลักฐานชัดเจนว่า  ประเด็นที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติด้วยกันเอง   มิใช่ความขัดแย้งระหว่างศาลรัฐธรรมนูญกับฝ่ายนิติบัญญัติ

            นั่นคือ ฝ่ายนิติบัญญัติผู้สังกัดพรรคเพื่อไทยและสมาชิกวุฒิสภาบางกลุ่มคิดว่า พวกตนเองมีสิทธิในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เพื่อลดอำนาจของประชาชน    แต่ฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นเสรีชนอิสระเห็นว่า การกระทำที่ลดอำนาจของประชาชนทำไม่ได้ หากฝ่ายนิติบัญญัติคนใดบังอาจทำเช่นนั้น ก็ย่อมเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่มิชอบและขัดต่อรัฐธรรมนูญ

              เมื่อความเห็นไม่ตรงกันก็ต้องยื่นเรื่องให้องค์กรที่เป็นกรรมการตัดสินวินิจฉัยว่า ผู้กระทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวมีความผิดหรือไม่

              องค์กรที่ได้รับอาณัติจากสังคมและจากรัฐธรรมนูญให้ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยข้อขัดแย้งเช่นนี้ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ   ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีความชอบธรรมอย่างเต็มที่ในการรับคำร้องเพื่อวินิจฉัยการกระทำดังกล่าว  การรับคำร้องจึงมิใช่เป็นการแทรกแซงอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติดังที่บรรดาผู้รับใช้ของทรราชจอมบงการปั้นแต่งขึ้นมาเพื่อหลอกลวงประชาชนแต่อย่างใด

              ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องเรื่องนี้ไว้พิจารณา  บรรดาผู้รับใช้ของทรราชจอมบงการก็เกิดอาการตื่นตระหนก ลนลาน หวาดผวา ตัวสั่นเทาด้วยความกลัว   จากนั้นก็สุมหัวกันวางแผนตอบโต้ศาลรัฐธรรมนูญ

              พวกเขาประกาศว่าจะไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ   นับว่าเป็นความตั้งใจที่อยู่บนพื้นฐานของความกล้าอย่างบ้าบิ่นและสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายอย่างยิ่ง  เพราะว่าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมได้รับการคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ  การขัดขืนไม่ยอมการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมแสดงให้เห็นว่า พวกเขามีเจตนาละเมิดรัฐธรรมนูญ

             ลองคิดดูว่าหากสมาชิกของสภานิติบัญญัติแสดงความประสงค์ไม่ยอมรับการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสียแล้ว  กฎหมายของบ้านเมืองย่อมปราศจากความหมายใดๆ  และสังคมก็ก้าวไปสู่ภาวะไร้ระเบียบ สับสน วุ่นวาย นั่นก็คือการถอยหลังไปสู่ยุคแห่งความป่าเถื่อนนั่นเอง

            ผู้รับใช้ทรราชจอมบงการยังได้สร้างกรอบความคิด บิดเบือนความจริง และปั้นแต่งใช้วาทกรรมเพื่อทำลายความชอบธรรมของศาลรัฐธรรมนูญว่า “ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ”   พวกเขาตอกย้ำวาทกรรมชุดนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าผ่านสื่อมวลชนในเครือข่ายลัทธิแดงและสื่อมวลชนอื่นๆ  

              ความเป็นจริงก็คือ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการรับคำร้องและวินิจฉัยข้อขัดแย้งต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ   กล่าวอีกนัยหนึ่ง บทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญคือการเป็นกรรมการเพื่อวินิจฉัยข้อขัดแย้งมิใช่เป็นคู่ขัดแย้งของใครหรือขององค์กรใดๆตามที่ผู้รับใช้ทรราชจอมบงการพยายามใส่ร้ายป้ายสี

              ในทางกลับกันการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นกลุ่มผู้รับใช้ทรราชจอมบงการต่างหากที่พยายามเข้าไปแทรกแซงและทำลายการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ

              ผู้รับใช้ทรราชจอมบงการอ้างว่า “อำนาจสถาปนากฎหมายเป็นของฝ่ายนิติบัญญัติ”   เพื่อใช้ข้ออ้างนี้กระทำการอย่างอำเภอใจในการสร้างกฎหมายที่มีเนื้อหาแบบใดก็ได้  ดังพฤติกรรมที่พวกเขากระทำอยู่ในขณะนี้และกำลังเตรียมการกระทำต่อไปในอนาคต เพื่อขจัดตัวบทกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้อำนาจของตนเอง    และสร้างกฎหมายเพิ่มอำนาจและเอื้อต่อผลประโยชน์ต่อเจ้านายและกลุ่มตนเอง   ทั้งยังประดิษฐ์กฎหมายที่ลิดรอนสิทธิของประชาชน และทำลายองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจทั้งมวล   หรือที่อาจร้ายแรงกว่านั้นก็คือ การใช้อำนาจสถาปนากฎหมายเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั่นเอง

              ทรราชจอมบงการและผู้รับใช้กำหนดแผนและปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง  เส้นทางการวางยุทธศาสตร์การเมืองของพวกเขาละม้ายคล้ายคลึงกับเส้นทางของพรรคนาซีของฮิตเลอร์ ราวกับถอดแบบพิมพ์มาใช้

              แนวรุกอีกด้านหนึ่งที่กลุ่มสมุนทรราชจองบงการใช้เพื่อบั่นทอนสมาธิของศาลรัฐธรรมนูญคือ การยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยไปขุดเอาเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในอดีตขึ้นมาใช้   การกระทำเช่นนี้ไม่มีอะไรมากไปกว่าคำที่เรียกเป็นพวก “กินข้าวอิ่มแล้วไม่มีอะไรทำ”   สิ่งที่อาจเกิดขึ้นบ้างก็คือสร้างความรำคาญแก่บุคคลที่เป็นเป้าหมายของการรบกวนเท่านั้นเอง               

              วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่ผู้รับใช้ทรราชจอมบงการใช้เพื่อคุกคามศาลรัฐธรรมนูญก็คือ สั่งการให้พวกเสื้อแดงในสังกัดกลุ่มหนึ่งไปชุมนุมกดดันศาลรัฐธรรมนูญ และยื่นข้อเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญลาออก

              การใช้สมุนเสื้อแดงเพื่อชุมนุมกดดัน ท่าทออย่างหยาบคาย หรือทำร้าย บุคคลหรือองค์กรที่กล้าพูดความจริงและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอย่างตรงไปตรงมาเป็นวิธีการมาตรฐานของทรราชจอมบงการและลัทธิแดง  พวกเขาใช้วิธีการแบบนี้เป็นประจำเสมือนเป็น “ตราสัญลักษณ์” ประจำแก๊งของทรราชจอมบงการไปแล้ว

              แม้ว่ากลุ่มแก๊งของทรราชจอมบงการและผู้รับใช้จะพยายามลิดรอนอำนาจของประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่า  แต่ความสำเร็จของพวกเขายังไม่ใกล้เคียงกับความคาดหวังเท่าไรนัก   เพราะว่าผู้คนและองค์กรจำนวนมากในสังคมไทยมิใช่เป็นผู้ด้อยสติปัญญาและละโมบในเงินตราของพวกเขา   ผู้คนเหล่านี้กระจายอยู่ในทุกหนทุกแห่งเฝ้าติดตามดูการกระทำของทรราชจอมบงการและผู้รับใช้อย่างใกล้ชิด   และพร้อมที่จะเปิดฉากปฏิบัติการทางการเมืองเพื่อตอบโต้และหยุดยั้งการกระทำที่ลุแก่อำนาจของทรราชจอมบงการและผู้รับใช้อยู่ตลอดเวลา

           ยิ่งทรราชจอมบงการและผู้รับใช้เหิมเกริมและหลงระเริงกับการใช้อำนาจตามอำเภอใจมากเท่าไร  โอกาสที่พวกเขาจะมีความเสี่ยงในการประสบชะตากรรมอันเลวร้ายก็จะมีมากยิ่งขึ้น

              ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติบ่งชี้ให้พวกเราเห็นหลายครั้งหลายคราว่า  ไม่มีทรราชจอมบงการคนใดซึ่งมีการกระทำที่ลุแก่อำนาจ ลิดรอนสิทธิของประชาชน  และทุจริตคอรัปชั่น จะสามารถครองอำนาจอย่างยั่งยืนและมีชีวิตที่สงบสุขในปั้นปลาย   จุดจบของพวกเขาล้วนแล้วแต่น่าอเนจอนาถยิ่งนักยิ่ง  จะช้าหรือเร็วเท่านั้นเอง

              แต่ยิ่งพวกเขาเร่งรีบขยายการกระทำที่ชั่วร้ายเพิ่มขึ้นมากเท่าไร   เวลาของพวกเขาก็เหลือน้อยลงเท่านั้น   อีกไม่นานไม่นาน ผู้คนในสังคมไทยจะเห็นสัญญาณอันแสดงถึงจุดจบของแก๊งทรราชจอมบงการลัทธิแดงได้อย่างชัดเจยิ่งขึ้น ขณะนี้สัญญาณเหล่านั้นกำลังคืบคลานและเผยตัวออกมา   บางทีไม่เกินสิ้นปีนี้ก็จะได้เห็น  โปรดจับตาดูอย่างใกล้ชิดครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

ความผิดพลาดของมนุษย์ตามแนวคิดของ ฟรานซิส เบคอน

ความผิดพลาดของมนุษย์ : ชนเผ่า ถ้ำ ตลาด และโรงมหรสพ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เห็นสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในระยะนี้  ยิ่งทำให้เห็นความจริงประการหนึ่งว่า ทะเลแห่งความมืดบอดของสังคมไทยนับวันจะขยายตัวออกไปมากขึ้น   และเกาะแห่งปัญญานับวันจะลดน้อยถอยลง  หากภาวะเช่นนี้ดำรงต่อไปนานเท่าไร  ก็ยิ่งทำให้ทะเลแห่งความมืดบอดมีโอกาสกลืนกินเกาะแห่งปัญญาจนหมดสิ้นในไม่ช้า  ผมไปอ่านงานของนักปรัชญาท่านหนึ่ง  เห็นว่ามีความน่าสนใจโดยเฉพาะการวิเคราะห์เกี่ยวกับความผิดพลาดทางปัญญาและการให้เหตุผลของมนุษย์   ซึ่งทำให้เราต้องนำมาทบทวน ระมัดระวัง จะได้ไม่ตกอยู่ในความผิดพลาดนั้น   เพื่อจะได้พัฒนาปัญญาของตนเองให้กระจ่างชัด และมีหนทางในการนำพาสังคมให้หลุดพ้นจากทะเลแห่งความมืดบอดต่อไป ฟรานซิส เบคอน นักปรัชญาชาวอังกฤษซึ่งมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561 ถึง 1626   วิเคราะห์จำแนกสาเหตุของความผิดพลาดในการใช้เหตุผลของมนุษย์ออกเป็นสี่แบบ  ได้แก่ ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของชนเผ่า ( Idols of the Tribe)    ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของถ้ำ ( Idols of the Cave)   ความผิดพลาดแบบรูปเคารพของตลาด (Idols of the Market-place)   และความผิดพลาด

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั