ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วาทศิลป์สิ้นคิดในการเลือกตั้งผู้ว่า
ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2556 20:07 น.
ปัญญาพลวัตร
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

ในท่ามกลางการใช้วาทศิลป์และการแสดงละครเพื่อโน้มน้าวจูงใจผู้คนให้เลื่อมใสนิยมชมชอบตนเองของบรรดานักการเมืองผู้ปรารถนาเข้าไปครองอำนาจในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผมใคร่ขอเสนอหลักคิดในการพิจารณาว่าวาทศิลป์เหล่านั้นมีกับดักและหลุมพรางในลักษณะใดบ้าง

นับตั้งแต่มีการเปิดตัวผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ การหาเสียงของบรรดาผู้สมัครเหล่านั้นที่ผมได้ยินและเห็นในหน้าสื่อมวลชนและตามท้องถนนมากที่สุดน่าจะเป็นของผู้สมัครพรรคเพื่อไทย รองลงมาคือผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ และ ผู้สมัครอิสระบางคน เช่น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส เป็นต้น แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเพียงวาทศิลป์ที่ผมคิดว่าเป็นวาทศิลป์เด่นเท่านั้น

ผู้สมัครแต่ละคนเปิดตัวโหมโรงในการหาเสียงโดยมีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยเริ่มจากการใช้วาทศิลป์เชิงยุทธศาสตร์ว่า การบริหารที่ไร้รอยต่อŽ ระหว่างกรุงเทพมหานครกับรัฐบาลกลาง จากนั้นตามด้วยมาตรการประชาชนนิยม แจกฟรีในหลายรายการ

ผมคิดว่าวาทศิลป์เรื่องการบริหารแบบไร้รอยต่อของพรรคเพื่อไทย มาจากการวิเคราะห์ของทีมยุทธศาสตร์ของพรรคซึ่งรากฐานจากประเด็นปัญหาการจัดการมหาอุทกภัยในกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. 2554 ปัญหาช่วงนั้นคือการเกิดช่องว่างการทำงานระหว่างรัฐบาลกลางและกรุงเทพมหานคร สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคือ การช่วงชิง บทบาทการนำและการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาอุทกภัย การตำหนิวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกัน และการผลักความรับผิดชอบกรณีที่ไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ระหว่างรัฐบาลกับกรุงเทพมหานคร

ตรรกะของทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยคือ การที่ผู้ว่ากรุงเทพมหานครมาจากผู้สมัครที่สังกัดพรรครัฐบาล จะทำให้การแก้ปัญหาและการพัฒนากรุงเทพทำได้มากขึ้น เพราะรัฐบาลจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นพรรคเดียวกัน อันที่จริงตรรกะชุดนี้เป็นตรรกะชุดเดียวกับที่ ทักษิณ ชินวัตร เคยพูดปราศรัยในที่สาธารณะเมื่อนานมาแล้วในทำนองที่ว่า พรรคของเขาจะช่วยเหลือประชาชนเฉพาะกลุ่มที่เลือกพรรคเขาเท่านั้น

ความหมายและความเชื่อที่ซ่อนเร้นภายใต้วาทศิลป์ การบริหารที่ไร้รอยต่อŽ ชุดนี้มีหลายประการ ซึ่งผมเห็นว่ามีความผิดพลาดและมีลักษณะขู่กรรโชก (blackmail) ผู้เลือกตั้งชาวกรุงเทพมหานคร

วาทศิลป์ การบริหารที่ไร้รอยต่อŽ มาจากความเชื่อที่ผิดพลาดว่า การเมืองและการบริหารปกครองคือการตอบสนองประโยชน์เฉพาะผู้ที่นิยมและเลือกพรรคของตนเอง เพราะแท้จริงแล้วการเมืองคือการกระทำพันธกิจเพื่อประเทศชาติที่ตอบสนองปัญหาและพัฒนาสร้างความผาสุกแก่ประชาชนทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นการเมืองระดับท้องถิ่นหรือการเมืองระดับชาติก็ตาม ฉะนั้นความสัมพันธ์ของรัฐบาลระดับชาติและรัฐบาลท้องถิ่นไม่ว่าจะมาจากพรรคเดียวกันหรือต่างพรรคต่างพวก ล้วนแล้วแต่ต้องปฏิบัติพันธกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกันทั้งสิ้น

การคิดแบบแบ่งเขาแบ่งเราระหว่างการเมืองสองระดับจึงเป็นความคิดที่คับแคบ การคิดที่จะขัดขวางการทำงานซึ่งกันและกันเพื่อทำให้ฝ่ายหนึ่งต้องเสียหน้าเสียคะแนนนิยมเป็นความคิดที่อัปลักษณ์ รังแต่จะสร้างความเสียหายแก่ส่วนรวม ส่วนการคิดแบบทำงานเอาหน้าสร้างคะแนนนิยม โดยละเลยการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาที่แท้จริงก็เป็นความคิดแบบเห็นแก่ตัวซึ่งน่าละอายยิ่งนัก

การบริหารปกครองของรัฐบาลกลางและท้องถิ่นจึงควรปราศจากรอยต่อตั้งแต่ต้น และเมื่อมีร่องรอยของช่องว่างที่เกิดจากเหตุใดก็แล้วแต่ ผู้บริหารทั้งสองระดับก็ควรหันหน้าเข้าหากันเพื่อปรึกษาหารือ และหาแนวทางในการเชื่อมประสานช่องว่างสร้างความกลมกลืนให้ไร้รอยต่อแต่โดยเร็ว มิใช่ปล่อยให้ช่องว่างหรือปมความขัดแย้งขยายตัว และนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนเองภายหลังโดยการเหยียบย่ำซ้ำเติมผู้อื่น

การนำช่องว่างหรือปัญหาขัดแย้งในการทำงานของรัฐบาลกลางและกรุงเทพมหานครมาใช้เป็นยุทธศาสตร์หาเสียงจึงเป็นการกระทำที่สิ้นคิด อันแฝงด้วยความวิปริตของจิตใจ เพราะว่าเป็นการกระทำที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการขู่กรรโชกผู้เลือกตั้งชาวกรุงเทพมหานครว่า หากคนกรุงเทพฯไม่เลือกผู้สมัครของพรรครัฐบาล ก็อย่าหวังเลยว่าจะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา หรือได้รับการอุดหนุนจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาใดๆ หากคนกรุงเทพฯต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลก็ต้องเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯที่สังกัดพรรครัฐบาลเท่านั้น หรือว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยคิดแบบนี้จริงๆ

การขู่กรรโชกทางการเมืองในลักษณะนี้ย่อมมิใช่การกระทำเยี่ยงวิญญูชน และยิ่งมิใช่การกระทำของผู้บริหารประเทศที่ยังมีสามัญสำนึกแห่งความผิดถูกหลงเหลืออยู่บ้าง แต่เป็นการกระทำของคนพาลหรือทุรชนผู้ที่มียังไม่ได้รับการกล่อมเกลาพัฒนายกระดับจิตสำนึกสาธารณะเยี่ยงผู้คนแห่งสังคมอารยะทั่วไป ระดับสำนึกจึงแคบสั้นและตื้นเขินซึ่งมุ่งสนองประโยชน์ของกลุ่มตนเองเป็นหลัก หาได้สนใจใยดีกับผลประโยชน์ของบ้านเมืองแต่อย่างใด

จากการบริหารที่ไร้รอยต่อในช่วงเริ่มต้น ถัดมาในเวลาไม่นานผู้สมัครพรรคเพื่อไทยก็เริ่มใช้วาทศิลป์เชิงประชานิยมในการหาเสียง ฐานคิดของวาทศิลป์ชุดนี้อยู่บนความเชื่อที่ดูถูกสติปัญญาของผู้เลือกตั้ง ผู้ใช้วาทศิลป์ทำนองนี้เชื่อว่าผู้เลือกตั้งทั้งหมดเป็นกลุ่มคนที่มุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตนในระยะสั้นที่เป็นรูปธรรม หากเสนอผลประโยชน์ที่ผู้เลือกตั้งสัมผัสจับต้องได้แล้ว ผู้เลือกตั้งก็คงจะเลือกตนเอง

สภาพความเป็นจริงในการเลือกตั้งที่ผ่านมาทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ วาทศิลป์เชิงประชานิยมเป็นสิ่งที่ทรงพลังในการสร้างความสำเร็จแก่นักการเมืองจำนวนมาก รวมทั้งพรรคเพื่อไทยด้วย วาทศิลป์ประชานิยมของพรรคเพื่อไทยทำให้พรรคนี้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไประดับชาติมาแล้วหลายครั้ง ผมเองก็คงไม่อาจปฏิเสธความจริงข้อนี้ในสังคมไทยได้ แต่นั่นก็เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงวุฒิภาวะโดยรวมของผู้คนในสังคมว่าอยู่ในระดับใด

การประสบความสำเร็จของวาทศิลป์เชิงประชานิยมในขอบเขตส่วนใหญ่ของประเทศ ทำให้ทีมยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยอนุมานว่าการใช้วาทศิลป์ชุดนี้ในการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯคงจะเกิดประสิทธิผลเช่นเดียวกับในต่างจังหวัดโดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ การอนุมานแบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อว่า ลักษณะทางสังคมและประชากรของชาวกรุงเทพฯไม่แตกต่างจากชาวต่างจังหวัดนั่นเอง

พรรคเพื่อไทยคงคิดว่าผู้เลือกตั้งที่ไหนก็เหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯหรือต่างจังหวัด คงคิดว่าชาวกรุงเทพฯคิดแบบชั้นเดียวเชิงเดียวเหมือนกับผู้เลือกตั้งต่างจังหวัด คงคิดว่าชาวกรุงเทพฯใช้ประโยชน์ที่ได้จากมาตรการประชานิยมเป็นฐานในการตัดสินใจเลือกตั้ง และคงคิดว่าพวกเขาจะสามารถกุมสภาพและชี้นำความคิดของคนกรุงเทพฯได้

ถ้าทีมยุทธศาสตร์ของพรรคเพื่อไทยคิดได้แค่นี้ ก็นับว่าเป็นโชคดีของผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีความเข้าใจและเชี่ยวชาญในการรณรงค์หาเสียงในเขตเมืองค่อนข้างสูง

ส่วนวาทศิลป์อีกชุดที่มิได้มีการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ แต่มีการกระจายแบบปากต่อปากและในสื่อสังคมเครือข่ายของโลกอินเตอร์เน็ต วาทศิลป์ชุดนี้ คือ ไม่เลือกเราเขามาแน่Ž

วาทศิลป์ชุดนี้อาศัยความกลัวและความเกลียดชังเป็นพลังขับเคลื่อน มีรากฐานจากพฤติกรรมการจลาจลเผาบ้านเผาเมืองของคนเสื้อแดงอันเป็นกลุ่มมวลชนของพรรคเพื่อไทย พฤติกรรมของคนกลุ่มนี้เป็นที่รังเกียจของคนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ ดังนั้นหากผู้สมัครพรรคการเมืองใดก็ตามที่มีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มนี้ คนกรุงเทพฯส่วนใหญ่ก็แนวโน้มไม่ต้องการให้เข้ามาบริหารกรุงเทพมหานคร

การอาศัยวาทศิลป์แบบนี้ในการรณรงค์มีเป้าหมายเพื่อทำให้การตัดสินใจของผู้เลือกตั้งเบี่ยงเบนจากความสมเหตุสมผล และหันไปใช้อารมณ์เป็นฐานในการตัดสินใจ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่ต้องอาศัยพลเมืองผู้มีเหตุมีผลเป็นฐานสำหรับการตัดสินใจกระทำทางการเมือง

การใช้วาทศิลป์ทั้งสามประเภท ทั้งการบริหารไร้รอยต่อ ประชานิยม และ ไม่เลือกเราเขามาแน่ ล้วนแล้วแต่เป็นวาทศิลป์ที่ไม่สร้างสรรค์ และส่งผลเชิงลบต่อการพัฒนาความคิดและสำนึกทางการเมืองของประชาชนทั้งสิ้น เพราะวาทศิลป์แรกมีนัยของการขู่กรรโชก ถัดมามีนัยของการแลกเปลี่ยนประโยชน์เชิงการซื้อขายเสียง และเป็นการดูถูกประชาชน ส่วนวาทศิลป์สุดท้ายอาศัยอารมณ์ของความเกลียดชัง ซึ่งจะสร้างความมืดบอดทางปัญญาขึ้นมาและทำให้การเมืองไทยตกและจมอยู่ในวัฏจักรอันชั่วร้ายจนยากที่จะหลุดพ้นออกมาได้

สำหรับผู้เลือกตั้งชาวกรุงเทพ ผมคิดว่า พวกเขาส่วนใหญ่มีสติปัญญาเพียงพอในการตัดสินใจไตร่ตรอง และคงจะไม่ตกในกับดักและหลุมพรางของวาทศิลป์สิ้นคิดของบรรดานักการเมืองและพรรคการเมืองเหล่านี้อย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง

การเริ่มต้นของชีวิตและการทำแท้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คำถามประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการทำแท้งคือ เมื่อไรที่จะนับว่าชีวิตมนุษย์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และ ณ จุดไหนที่สังคมควรจะเข้าไปดำเนินการปกป้องชีวิตที่กำลังก่อกำเนิด       ส่วนข้อถกเถียงเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับการทำแท้งมี ๒ ประเด็นหลักคือ  ประเด็นแรกคือ “คุณค่าของพื้นฐานแห่งชีวิต” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตที่ยังไม่ได้กำเนิดมาดูโลก กับชีวิตของมารดา   ประเด็นที่สองคือ “พื้นฐานของเสรีภาพส่วนบุคคคล” ซึ่งเป็นสิทธิของมารดาเหนือร่างกายของตนเองในการให้กำเนิดและกำหนดชีวิต และประเด็นที่เป็นความขัดแย้งอีกประการคือแนวคิดเกี่ยวกับ “สิทธิสัมบูรณ์”  ระหว่างสิทธิของทารกในครรภ์ที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาเป็นมนุษย์ กับสิทธิของมารดาในการควบคุมชีวิตและร่างกายของตนเอง ชีวิตมนุษย์เริ่มจากไหนและพัฒนาอย่างไร   ในทางวิทยาศาสตร์ได้อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาตัวอ่อนในครรภ์ในเป็นมนุษย์ ดังนี้ ๑.       ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จากอสุจิ หนึ่งเซลล์ของมนุษย์ผู้หนึ่งผสมกับเซลล์ของมนุษย์อีกผู้หนึ่ง กลายเป็นสองเซลล์และขยายเป็นสี่ และจากนั้นภายในหกวั

วิจารณ์หนังสือ การสร้างทฤษฎีฐานราก: แนวทางเชิงปฏิบัติผ่านการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ของ Kathy Charmaz. พิมพ์ในวารสารพัฒนาสังคม V 14. No. 2

บทวิจารณ์หนังสือ  พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต Kathy Charmaz  2006. Constructing Grounded Theory: A Practical Guide Through Qualitative Analysis. London: SAGE   จำนวน  208  หน้า ความเป็นมาของทฤษฎีฐานราก ระเบียบวิธีทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) อุบัติขึ้นจากนักสังคมวิทยาสองคนคือ Barney G. Glaser และ Anselm L. Strauss ช่วงกลางทศวรรษ 1960s    ทั้งสองไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสภาวะกำลังตายและการตาย ของผู้ป่วยในโรงพยาบาล    พวกเขาได้พัฒนายุทธศาสตร์เชิงระเบียบวิธีอย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งทำให้นักสังคมศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ในการศึกษาเรื่องอื่นๆได้จำนวนมาก   ในปี 1967 Glaser และ Strauss  ได้เสนอระเบียบวิธีนี้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการในหนังสือที่มีชื่อเสียงโด่งดังของพวกเขา คือ The Discovery of Grounded Theory   ซึ่งทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ของระเบียบวิธี        ช่วงเวลาก่อนที่ Glaser และ Strauss เสนอระเบียบวิธีการวิจัยทฤษฎีฐานรากเป็นช่วงที่การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในสาขาสังคมวิทยากำลังประสบกับปัญหาทางระเบียบวิธีวิทยาอย่างหนักหน่วง   การวิจัยเชิงคุณ

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์

พหุวัฒนธรรมนิยม สิทธิชนกลุ่มน้อยและความสมานฉันท์          พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต จากความขัดแย้งของสังคมไทยที่ดำรงอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอุดมการณ์ เรื่องเชื้อชาติและศาสนาในสามจังหวัดภาคใต้  และปัญหาแรงงานอพยพที่นับวันจะมีมากขึ้น ทำให้ผู้เขียนเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องนำเสนอความคิดทางสังคมการเมืองซึ่งอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการปฏิบัติเพื่อทำให้สังคมลดความขัดแย้ง  สร้างการบูรณาการ และความสมานฉันท์อย่างเป็นระบบขึ้นมา   เนื่องจากแนวความคิดนี้มีความยาวและต้องทำความเข้าใจในหลายมิติ ผู้เขียนพยามยามนำเสนอให้ง่ายต่อการอ่านและการเข้าใจ          พหุวัฒนธรรมนิยม ( multiculturalism) เป็นแนวคิดคู่แข่งทางวิชาการและนโยบายของลัทธิชาตินิยม ( nationalism)      นักวิชาการเริ่มใช้คำนี้ประมาณทศวรรษ 1960  เพื่ออธิบายนโยบายสาธารณะใหม่ ในประเทศแคนาดา ต่อมาขยายไปสู่ประเทศออสเตรเลีย  การพัฒนาการของแนวคิดนี้เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเปิดเผยของรัฐบาลเพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรม ( assimilation) ไปสู่นโยบายสังคมพหุวัฒนธรรม นโยบายผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมทำให้วัฒ