ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2012

มายาคติของการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสังคมไทย

มายาคติของการเลือกตั้งและพรรคการเมืองในสังคมไทย   พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต มายาคติคติหรือความหลงผิดทางวิชาการเป็นความเข้าใจปรากฏการณ์คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงทั้งด้านลักษณะธรรมชาติ องค์ประกอบ กระบวนการ  สาเหตุอันเป็นเงื่อนไขของการเกิดขึ้นและดำรงอยู่  และผลสืบเนื่องของปรากฎการณ์นั้นที่มีต่อปรากฎการณ์อื่น ความหลงผิดทางวิชาการนำไปสู่การกำหนดแนวทางและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง  จึงทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้และอาจส่งผลให้ปัญหานั้นปานปลายหรืออาจนำไปสู่การสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่และรุนแรงกว่าเดิม   การพัฒนาหรือสร้างสรรค์สิ่งใดก็ตามหากถูกชี้นำด้วยความหลงผิดทางวิชาการ ก็มีแนวโน้มประสบกับความล้มเหลว  และอาจนำไปสู่การสร้างความขัดแย้งทางสังคม เงื่อนไขที่ทำให้เกิดความหลงผิดทางวิชาการมาจาก การรับรู้แบบเสี่ยงเสี้ยวหรือแบบตาบอดคลำช้าง  การมีฐานคิดและความเชื่อที่ผิดพลาด   และการมีค่านิยมหรือความชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไปจนเกิดอคติขึ้นมา เมื่อจิตของบุคคลหรือกลุ่มใดกอปรไปด้วยเงื่อนไขทั้งสาม จิตนั้นก็จะสร้างภาพมายาคติขึ้นมา และยึดถือเอามายาค

การเมืองและสังคม

การเมืองอยู่ในสภาพวิกฤติถูกครอบงำโดยอาชญากร สังคมเต็มไปด้วยความรุนแรง กฎหมายกลายเป็นกฎเถื่อน. ผู้่ฟั่นเฟือนครองอำนาจ. จริยปราชญ์ไร้บทบาทช้ีนำสังคม. ความโง่งมแผ่ขยายครอบคลุมทุกปริมณฑล ด้วยอิทธิพลของนักวิชาการเณรน้อยผู้ไร้เดียงสาทางการเมือง ผู้มีปมเขื่องที่ไร้วุฒิภาวะ

การพยายามให้ฝ่ายการเมืองครอบงำศาลรัฐธรรมนูญ

การเสนอปรับที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยนิติราษฎร์และอุกฤษณ์ มงคลนาวิน มีฐานคิดเดียวกันคือ การให้ฝ่ายการเมืองเป็นผู้เลือกศาลรัฐธรมนูญ โดยอ้างว่าจะทำให้ื่อมโยงกับประชาชน ข้อเสนอนี้นอกจะจะแสดงถึงความไร้เดียงสาไม่เข้าใจบริบททางการเมืองไทยแล้ว ยังเป็นการเสนอที่สร้างภาวะการขัดกันของผลประโยชน์. เพราะหน้าที่หลักของศาลรัฐธรรมนูญคือการวินิจฉัยและตัดสินเกี่ยวกับการละเมิดรัฐธรรมนูญ. ซึ่งกลุ่มที่ละเมิดรัฐธรรมนูญมากที่สุดดีือนักการเมือง. ดังนั้นหากให้นักการเมืองเลือกผู้ที่มาตัดสินความผิดของตนเอง พวกเขาก็ย่อมมีแนวโน้มเลือกคนที่เป็นพวกหรือสนับสนุนตนเอง. ซึ่งจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างมีอคติสูง ยิ่งกว่านั้นยังทำให้นักการเมืองสามารถแทรกแซงและครอบงำกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขัดกับหลักการถ่วงดุลย์ของอำนาจอีกด้วย ข้อเสนอของกลุ่มบุคคลและบุคคลดังกล่าว. จึงเป็นข้อเสนอที่เพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายการเมือง. เอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายการเมือง ขณะที่บ่อนทำลายอำนาจในการตรวจสอบนักการเมืองของสังคมให้ลดน้อยลง. ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบอบประชาธิปไตย

มนุษย์ยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ที่ตั้งใจได้

มนุษย์ยากที่จะควบคุมผลลัพธ์ที่ตั้งใจได้ พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เมื่อมนุษย์ตัดสินใจกระทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สิ่งที่เป็นแรงผลักดันอยู่เบื้องหลังคือความปรารถนาในผลลัพธ์ที่พึงประสงค์   กระนั้นความปรารถนาประการเดียวในบางบริบทก็ไม่เพียงพอที่ส่งผลให้เกิดการกระทำ  เงื่อนไขสำคัญอีกประการที่เอื้อต่อการกระทำคือโอกาสซึ่งมีความหมายกว้างขวางทั้งเป็นโอกาสที่อยู่ภายในตัวบุคคล  เช่น การมีความรู้ ปัญญา ทักษะ ความมั่งคั่ง และโอกาสที่อยู่ภายนอกบุคคล เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยมของสังคม และสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นต้น   ทันทีที่มนุษย์ลงมือกระทำ ผลลัพธ์ที่ตามมามีสองประการหลัก คือผลลัพธ์ที่ตั้งใจให้เกิดตามความปรารถนาในตอนเริ่มแรก  กับผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลของมนุษย์ผู้นั้นเอง และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับมนุษย์ผู้อื่น   ผลลัพธ์อันไม่ตั้งใจที่มาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลมีกลไกคือ  เมื่อมนุษย์ลงมือกระทำตามความปรารถนาของตนในเริ่มแรก    ต่อมาการกระทำนั้นกลับเป็นปัจจัยที่เข้าไปเปลี่ยนแปลงความปรารถนาในตอนเริ่มแรกให้แตกต่างออกไป  เช่น เมื่อเราไปงานเลี้ยง ตั้งใจว่าจะ

ผลลัพธ์ของการพัฒนาที่ผิดพลาด และการเริ่มต้นใหม่ของการปฏิรูปสังคม (พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต)

ผลลัพธ์ของการพัฒนาที่ผิดพลาด และการเริ่มต้นใหม่ของการปฏิรูปสังคม พิชาย  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เป้าหมายการปฏิรูปสังคมของแต่ละประเทศอาจมีหลากหลาย แต่เป้าหมายร่วมกันลำดับต้นๆคือ การขจัดความยากจนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชน     ภาพของประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปคือ การมีชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ     พลเมืองมีการศึกษาและมีความสามารถในการใช้ความคิดเชิงเหตุผลมากขึ้นเพื่อวินิจฉัยว่าสิ่งใดจริงหรือไม่จริง    มีสวัสดิการอย่างทั่วถึงและเพียงพอ    การตัดสินใจทางการเมืองมีแนวโน้มยึดถือผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก   ความรุนแรงและอาชญากรรมลดลง และคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชนดีขึ้น เป็นความจริงเช่นเดียวกันว่าบางประเทศประสบความสำเร็จในการพัฒนาเงื่อนไขสภาพชีวิตด้านวัตถุของผู้คนให้ดีขึ้น  มีรายได้เพิ่มขึ้น และดูเป็นสังคมที่ทันสมัย    แต่เมื่อมองภาพอีกด้านหนึ่งกลับพบว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์ด้วยกันมีแนวโน้มเสื่อมสลาย  ผู้คนมีความห่างเหินและดำเนินวิถีชีวิตที่มีตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล  ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างผิวเผินและห

ประชาธิปไตยที่มีคุณค่า ต้องไม่ใช่แบบที่ถูกซื้อ

                ประชาธิปไตยที่มีคุณค่า ต้องไม่ใช่ แบบที่ถูกซื้อ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต โดยทั่วไปประชาธิปไตยถูกเข้าใจว่าเป็นการปกครองของเสียงส่วนใหญ่   การเลือกตั้งจึงถูกใช้เป็นกลไกหลักในการเลือกคนเข้ามาปกครอง เพราะการเลือกตั้งเป็นการนับจำนวน   พรรคการเมืองใดที่ประชาชนสนับสนุนในจำนวนที่มากกว่า ผู้นำพรรคก็จะกลายเป็นผู้บริหารปกครองประเทศ    การใช้หลักเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตัวแทนมีหลากหลายรูปแบบ ในบางประเทศใช้หลักเสียงส่วนใหญ่แบบสัมบูรณ์ ( absolute majority)  คือ ผู้ที่ได้รับเลือกเข้าไปเป็นตัวแทนในฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติจะต้องได้รับคะแนนร้อยละ 50 ของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งขึ้นไป      บางประเทศใช้ระบบแบบ “คนที่ได้รับคะแนนมากที่สุดแม้ไม่ถึงครึ่งก็จะได้รับการคัดเลือก” ( first-past-the-post)   บางประเทศใช้ระบบสัดส่วน ( proportional representation)  และบางประเทศอาจใช้หลายระบบผสมผสานกัน ปัญหาคือเสียงส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าหรือเป็นสิ่งที่ดีในตัวของมันเองจริงหรือ      เป็นเรื่องที่น่าสงสัยว่าทำไมนโยบายที่คนส่วนใหญ่ชอบจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องและดีกว่านโยบายอื่นๆ   ทำไมพรรคการเมื
ประชาธิปไตยมิใช่เพียงการเลือกตั้ง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประชาธิปไตยเป็นคำที่ถูกตีความและถูกใช้อย่างหลากหลาย  ผู้ใช้แต่ละคนต่างก็อ้างว่าสิ่งที่ตนอธิบายหรือสิ่งที่ตนเองเชื่อเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง   ขณะเดียวกันก็วิพากษ์ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับตนเองว่าไม่เป็นประชาธิปไตยหรือตีตราว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมบ้าง    แต่สิ่งที่น่าเศร้าในสังคมไทยคือ ประชาธิปไตยของไทยถูกนักวิชาการและนักการเมืองจำนวนหนึ่ง “ลดรูป” ให้เหลือเป็นเพียง “การเลือกตั้ง” เท่านั้น  และมีการสร้างเป็นกระแสว่า ผู้ที่ผ่านการเลือกตั้ง ไม่ว่าพวกเขาหรือพวกเธอเหล่านั้นจะมีพฤติกรรมเลวร้ายอย่างไร ทุจริตฉ้อฉล ละเมิดสิทธิมนุษยชนทำร้ายประเทศหนักหนาสาหัสเพียงใด  สังคมก็ยังควรให้การสนับสนุน พวกนัก “คลั่งไคล้การเลือกตั้ง” ในสังคมไทย  เห็นว่าการเลือกตั้งคือวิถีที่ถูกต้องและใช้เป็นเกณฑ์หลักหรือเป็นศูนย์กลางในการวินิจฉัยว่าสังคมเป็นประชาธิปไตยหรือไม่  ขณะที่ละเลยหรือปิดตาข้างหนึ่งกับหลักธรรมาภิบาล  หลักสิทธิมนุษยชน  หลักการมีส่วนร่วม หลักการเคารพกฎหมาย และหลักการตรวจสอบการบริหารของรัฐ   หลักการเหล่านี้จึงถูกจัดวางไว้ที่ชายขอบ