ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2013

การเมืองแห่งความกลัวและความเพ้อฝัน

การเมืองแห่งความกลัวและความเพ้อฝัน โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 1 มีนาคม 2556 19:35 น ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในยุคสมัยแห่งปัจจุบันเงื่อนไขหลักที่ชี้นำการตัดสินใจและแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ดูเหมือนเป็น “ความคิดที่เชื่อมโยงกับอารมณ์ความกลัวและความเพ้อฝัน” การตัดสินใจทางการเมืองหรือแม้แต่ทางเศรษฐกิจดูเหมือนเป็นตัวอย่างของการแสดงออกถึงภาวะเช่นนั้นเป็นอย่างดี เมื่อมนุษย์การยอมรับสมมุติฐานหรือความเชื่อโดยปราศจากการใช้ปัญญาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ พวกเขาก็ก้าวไปสู่การมีอารมณ์ความกลัวและความเพ้อฝันขึ้นมาครอบงำจิตใจ ความมืดมัวของจิตก็เกิดขึ้นตามมา และเมื่อมีการตัดสินใจและลงมือกระทำก็นำไปสู่ความพลาดพลั้งได้โดยง่าย ผู้คนได้แสดงมายากลทางความคิดและมายาคติของความเป็นเหตุผล ซึ่งผลิตออกมาแอบแฝงไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมอันแรวพราวและเต็มไปด้วยกับดักหลุมพรางให้ผู้คนเดินตกลงไป เมื่อผู้คนติดกับดักทางความคิดใดแล้ว ความคิดนั้นก็ไปกระตุ้นอารมณ์กลัวและเพ้อฝันให้บังเกิดขึ้นมา และความคิดก็หลอกลวงต่อไปว่าอารมณ์นั้นคือเหตุผล

การเมืองเรื่องโพล

การเมืองเรื่องโพล โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 8 กุมภาพันธ์ 2556 19:44 น. ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สังคมไทยยุคปัจจุบันกำลังถูกท่วมท้นด้วยโพลประเภทต่างๆ มากมาย จากหลากหลายสำนัก โดยปกติแต่ละสัปดาห์ก็จะมีการแจกจ่ายข่าวเกี่ยวกับผลของโพลในเรื่องราวต่างๆอยู่แล้ว และปริมาณการทำโพลจะมีแนวโน้มมากขึ้นในช่วงเทศกาลการเลือกตั้ง โพลเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวความคิดเห็น ความความรู้สึก ความเชื่อของบุคคลต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ทางสังคม และยังเป็นการสำรวจพฤติกรรมในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งความตั้งใจต่อการแสดงพฤติกรรมในอนาคตของบุคคลอีกด้วย เช่น ความตั้งใจในการเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง เมื่อโพลเป็นการวิจัยรูปแบบหนึ่ง เป้าประสงค์ของการทำโพลที่สำคัญประการหนึ่งก็คือการแสวงหาความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้คนในสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่งๆ ส่วนการจะนำความจริงเหล่านั้นไปทำอะไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ทำโพลและมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออะไร ในประเทศไทยกลุ่ม

เหตุผลของผู้เลือกตั้งไทย

เหตุผลของผู้เลือกตั้งไทย โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 1 กุมภาพันธ์ 2556 23:17 น. ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต การตัดสินใจของประชาชนในการเลือกใครเป็นตัวแทนไม่ว่าระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ประชาชนมีเหตุผลในการตัดสินใจที่สำคัญอย่างน้อยสี่เหตุผล คือ เหตุผลเชิงอรรถประโยชน์สูงสุด เหตุผลเชิงความผูกพัน เหตุผลเชิงหลักการคุณธรรม และเหตุผลในเชิงการลดความเสี่ยง นักการเมืองจำนวนมากมักจะเข้าใจแบบเหมารวมว่า ประชาชนใช้ทางเลือกเชิงเหตุผลทางเศรษฐกิจแบบคับแคบ ที่ใช้อรรถประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ผลจากความเข้าใจแบบนี้ของนักการเมืองทำให้พวกเขาแข่งขันกันผลิตนโยบายประชานิยมออกมานำเสนอแก่ประชาชน โดยมีความเชื่อการผลิตนโยบายประชานิยมหลากหลายประเภท เพื่อตอบสนองแก่คนหลากหลายกลุ่ม และด้วยมูลค่าที่สูงกว่าจะจูงใจให้ประชาชนเลือกพวกเขา การแข่งขันของพรรคการเมืองและผู้สมัครในการนำเสนอนโยบายประชานิยม บางกรณีเป็นการเสนอแบบสุดโต่งและยากจะเป็นไปได้ แต่ผู้เลือกตั้งหาได้ไร้เดียงสา
วาทศิลป์สิ้นคิดในการเลือกตั้งผู้ว่า ASTVผู้จัดการรายวัน 25 มกราคม 2556 20:07 น. ปัญญาพลวัตร โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ในท่ามกลางการใช้วาทศิลป์และการแสดงละครเพื่อโน้มน้าวจูงใจผู้คนให้เลื่อมใสนิยมชมชอบตนเองของบรรดานักการเมืองผู้ปรารถนาเข้าไปครองอำนาจในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผมใคร่ขอเสนอหลักคิดในการพิจารณาว่าวาทศิลป์เหล่านั้นมีกับดักและหลุมพรางในลักษณะใดบ้าง นับตั้งแต่มีการเปิดตัวผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ การหาเสียงของบรรดาผู้สมัครเหล่านั้นที่ผมได้ยินและเห็นในหน้าสื่อมวลชนและตามท้องถนนมากที่สุดน่าจะเป็นของผู้สมัครพรรคเพื่อไทย รองลงมาคือผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ และ ผู้สมัครอิสระบางคน เช่น พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส เป็นต้น แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเพียงวาทศิลป์ที่ผมคิดว่าเป็นวาทศิลป์เด่นเท่านั้น ผู้สมัครแต่ละคนเปิดตัวโหมโรงในการหาเสียงโดยมีจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกัน ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยเริ่มจากการใช้วาทศิลป์เชิงยุทธศาสตร์ว่า การบริหารที่ไร้รอยต่อŽ ระหว่างกรุงเทพมหานครกับรัฐบาลกลาง จากนั้นต