ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

การเลือกตั้งกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคม และผู้เล่นทางการเมือง

การเลือกตั้งกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคม และผู้เล่นทางการเมือง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คอลัมน์ ปัญญาพลวัตร ในเอเอสทีวี สุดสัปดาห์ เผยแพร่: 20 ก.ค. 2561 1  โดย: MGR Online (๑) การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และกฎหมายหลายประการที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมการเลือกตั้ง นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว การรับรู้เกี่ยวกับผลงานของรัฐบาลปัจจุบัน ผู้แข่งขันหน้าใหม่ที่จะเข้าสู่สนามการเมือง ภาวะผู้นำของหัวหน้าพรรค นโยบายการหาเสียง และการประเมินอนาคตเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเป็นรัฐบาลของพรรคที่เลือก ก็มีผลไม่น้อยต่อความคิดและการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจนคือ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ซึ่งสังคมไทยมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความคิดทางการเมืองของผู้สูงอายุโดยทั่วไปมีแนวโน้มในเชิงอนุรักษ์นิยม ให้ความสำคัญกับคุณค่าดั้งเดิมของสังคม ความมีเสถียรภาพทางสังคม และความมั่นคงปลอดภัย ผู้สูงอายุมีแน

จารีต จิตอารมณ์ และเหตุผลในการกระทำของมนุษย์

จารีต จิตอารมณ์ และเหตุผลในการกระทำของมนุษย์ เผยแพร่:  3 พ.ย. 2560 16:53:00   โดย:  MGR Online พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต                                                  พฤติกรรมและการกระทำของคนในสังคมเป็นประเด็นที่นักวิชาการพยายามทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่องยาวนาน หากศึกษาประวัติศาสตร์ทางความคิดของมนุษย์ จะพบว่าการถกเถียงทางปรัชญาและวิชาการในเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นในแทบทุกสังคมที่อารยธรรมทางปัญญาได้ถูกสถาปนาขึ้นมา กล่าวได้ว่านอกจากเรื่องราวของพระเจ้าและธรรมชาติที่อยู่ภายนอกตัวเองแล้ว มนุษย์ก็พยายามคลี่คลายปริศนาเกี่ยวกับตนเองทั้งในเชิงความคิดและการกระทำด้วย อันที่จริงการพยายามอธิบายพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์เกิดขึ้นได้ทั้งในแวดวงของคนทั่วไป และในทางวิชาการหลากหลายสาขาของสังคมศาสตร์ เพราะมนุษย์ต้องการเข้าใจให้กระจ่างว่า การที่ใครคนใดคนหนึ่งกระทำสิ่งใดออกมา เขาหรือเธอถูกผลักดันด้วยปัจจัยหรือเงื่อนไขอะไรบ้าง โดยเฉพาะการกระทำที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบก็ตาม การกระทำใดที่ยิ่งส่งผลกระทบรุนแรงแรงและกว้างไกลมากเท่าไร เราก็ยิ่งมีความสนใจพฤติกรรมหรือกา

วิวัฒนาการของตรรกะและแบบแผนของพรรคการเมืองไทย

วิวัฒนาการของตรรกะและแบบแผนของพรรคการเมืองไทย  เผยแพร่: 22 ธ.ค. 2560 16:54:00  โดย: MGR Online LeftCenterRightRemove "ปัญญาพลวัตร" "พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" นับตั้งแต่มีการใช้ระบอบประชาธิปไตยเมื่อ ๘๕ ปี ที่แล้ว ตรรกะและแบบแผนความคิดเกี่ยวกับ “พรรคการเมือง” ของ “ชนชั้นนำไทย” ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปลักษณ์ของพรรคการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจหลายประการ เริ่มจากความรู้สึกหวาดระแวงในการจัดตั้งเป็นกลุ่มและองค์การทางการเมือง จึงไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองในสนามการเลือกตั้ง จากนั้นก็เริ่มคิดใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล จึงมีการรับรองเอาไว้รัฐธรรมนูญและให้อิสระในการดำเนินงาน และในที่สุดก็ออกกฎหมายมากำกับโดยตรง ครั้นเมื่อเห็นว่าไม่สามารถใช้พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการสร้างความมั่นคงให้แก่อำนาจของตนเองได้ ก็โยนเครื่องมือนี้ทิ้งลงในถังขยะทางประวัติศาสตร์ไปเสีย ในระยะแรกของการเปลี่ยนผ่านการปกครอง ชนชั้นนำไทยห้ามมิให้มีการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยให้เหตุผลว่า จะก่อให้เกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองขึ้นมา ช่วง ๒๔๗