ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2014

รศ. ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

ความกลัวของประชาชน ในยุคดิจิตอลการตั้งคำถามท้าทายการทำงานองค์การและเจ้าหน้าที่ของรัฐเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและต่อเนื่อง  แม้ว่าบ้านเมืองจะอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกและอำนาจเด็ดขาดของผู้ปกครอง  แต่ประชาชนก็หาได้เป็นลูกแกะที่เชื่องซึมซึ่งเดินตามคำสั่งแต่เพียงอย่างเดียวแต่อย่างใด  ตรงกันข้ามได้ส่งกระแสเสียงที่แตกต่างและท้าทายออกมาในหลายเรื่องราว หากถามว่าประชาชนมีความหวาดกลัวหรือไม่  ก็คงมีอยู่บ้าง  ใครเล่าจะไม่รู้สึกหวาดกลัวอำนาจที่ป่าเถื่อนและไร้เหตุผล   แต่ระดับความรู้สึกความกลัวต่ออำนาจรัฐของประชาชนคงไม่มากเท่ากับในอดีต  ทั้งนี้น่าจะมาจากเงื่อนไขสำคัญหลายประการ ประการแรกการสั่งสมบทเรียนและพัฒนายุทธวิธี   ประชาชนไทยผ่านการต่อสู้กับอำนาจรัฐและอำนาจเถื่อนมาหลายครั้งหลายคราว  ได้สั่งสมบทเรียนและประสบการณ์การจากการต่อสู้และพัฒนายุทธศาสตร์และยุทธวิธีสำหรับการต่อสู้ได้อย่างหลากหลาย   รูปแบบและกระบวนการต่อต้านอำนาจจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ปกครองเกิดความยุ่งยากในการใช้อำนาจรัฐอย่างดิบเถื่อนเพื่อจัดการกับประชาชน ในยามต่อสู้กับเผด็จการทุนสามานย์ที่อาศัยคราบของประชาธิปไตยบังหน้า ประชา

รศ. ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต "นักสร้างกฎหมาย"

ความพยายามของชนชั้นนำบางกลุ่มที่จะผลักดันกฎหมายเกี่ยวข้องกับการชุมนุมในที่สาธารณะออกมาในเวลานี้ ผมคิดว่าเป็นการมองปัญหาการเมืองไทยที่ผิดประเด็นอย่างรุนแรง  ชนชั้นนำกลุ่มนี้มักมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน โดยมองว่าประชาชนชอบสร้างความวุ่นวายจึงต้องใช้อำนาจรัฐในการควบคุมอย่างเด็ดขาด สังคมไทยมีกฎหมายที่รัฐหยิบเอามาใช้จัดการกับผู้ชุมนุมอย่างมากมายทั้ง พ.ร.บ.รักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  กฎอัยการศึก กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นๆ  เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าร่วมการชุมที่ผ่านมาจึงถูกตั้งข้อหาเป็นจำนวนมากตั้งแต่เป็นกบฏ ก่อการร้าย บุกรุกสถานที่ราชการ ไปจนถึงผิดกฎจราจร   กฎหมายใหม่ที่ออกมาก็คงมีข้อหาใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีกหลายข้อหา  ในอนาคตคงต้องสร้างคุกเพิ่มเพื่อขังประชาชนอีกจำนวนมาก   การมีกฎหมายใหม่ภายใต้บริบทการเมืองที่สังคมยังหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังทำให้กฎหมายกลายเป็นกระดาษเปื้อนหมึกเพิ่มขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง คาดว่าคงมีการละเมิดกันอย่างมากมาย  โดยเฉพาะการชุมนุมประท้วงทางการเมืองที่มีเป้าประสงค์อยู่ที่การเปลี่ยนแปลง

รศ. ดร. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต "สังคมอนาถา"

สังคมอนาถา พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สังคมไทยมีพลเมืองตื่นตัวทางการเมืองเป็นจำนวนมาก พวกเขามีความปรารถนาเห็นสังคมไทยมีความก้าวหน้ารุ่งเรือง มีการกระจายทรัพยากรของสังคมอย่างเป็นธรรม  เกิดความสันติสงบสุข   ผู้คนมีปัญญา มีเหตุมีผล รู้จักจำแนกแยกแยะเลือกกระทำสิ่งดี ละเว้นสิ่งเลวร้าย  ช่วยเหลือผู้เดือดร้อนทุกข์ยากตามศักยภาพและความเหมาะสม มีความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีน้ำใจ เป็นมิตร และเคารพซึ่งกันและกัน   พลเมืองเหล่านั้นมีจิตใจแห่งการเสียสละสูง ยึดถือเอาส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่กลัวความยากลำบาก ไม่กลัวแม้กระทั่งความเจ็บปวดหรือความเสี่ยงในการถูกทำร้าย  พวกเขาเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงความเสื่อมโทรมของบ้านเมืองให้กลายเป็นความจำเริญรุ่งเรือง  พลเมืองผู้ตื่นตัวต่อสู้กับกลุ่มคนอันเป็นทรชนผู้ยึดกุมอำนาจรัฐ  ผู้นำอำนาจไปใช้อย่างบิดเบือน เพื่อหยิบฉวยเคลื่อนย้ายผลประโยชน์โภคทรัพย์ของสังคมให้มาสุมกองอยู่ภายในเครือข่ายส่วนตน  ทั้งยังมีสมุนบริวารคอยรังควานทำร้ายพลเมืองผู้รู้เท่าทันไม่ว่างเว้นด้วยความป่าเถื่อนรุนแรง ในท่ามกลางกระบวนการต่อสู้  แม้พลเมืองจำนวนมากถูกสมุนบริว