อุดมการณ์การเมือง (๑) อุดมการณ์การเมือง : “อวสานนิยม” ของอุดมการณ์และประวัติศาสตร์การเมืองโลก (1) เผยแพร่: 12 ก.ค. 2562 17:23 โดย: ผู้จัดการออนไลน์ "ปัญญาพลวัตร" "พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต" อุดมการณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของประวัติศาสตร์โลกมากกว่าสองร้อยปี มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างใหญ่หลวง อุดมการณ์ยังเป็นพลังการขับเคลื่อนความก้าวหน้าที่ต่อเนื่องของการเปลี่ยนรูปลักษณ์ทางสังคมและการพัฒนาการเมือง กระนั้นก็ตามในโลกทางวิชาการมักมีข้อเสนอและการถกเถียงเกี่ยวกับการอวสานของอุดมการณ์และประวัติศาสตร์เป็นระยะ คำถามที่ว่า อุดมการณ์และประวัติศาสตร์ถึงจุดจบจริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว อุดมการณ์กำเนิดขึ้นในสังคมอุตสาหกรรมตะวันตก ต่อมาก็แพร่กระจายไปทั่วโลก และสร้างชุดของภาษาและวาทกรรมการเมืองในแทบทุกประเทศ อย่างไรก็ตามความคิดเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับบทบาทของอุดมการณ์ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์แบ่งออกเป็นสองมุมมองคือ มุมมองแรกมีทัศนะเชิงบวกต่ออุดมการณ์ เห็นว่าอุดมการณ์เป็นปฐมเหตุของสัจธรรม ความก้าวหน้า และความยุติธรรม ขณะท
การเลือกตั้งกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคม และผู้เล่นทางการเมือง พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต คอลัมน์ ปัญญาพลวัตร ในเอเอสทีวี สุดสัปดาห์ เผยแพร่: 20 ก.ค. 2561 1 โดย: MGR Online (๑) การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นใน พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นการเลือกตั้งที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และกฎหมายหลายประการที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรมการเลือกตั้ง นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว การรับรู้เกี่ยวกับผลงานของรัฐบาลปัจจุบัน ผู้แข่งขันหน้าใหม่ที่จะเข้าสู่สนามการเมือง ภาวะผู้นำของหัวหน้าพรรค นโยบายการหาเสียง และการประเมินอนาคตเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการเป็นรัฐบาลของพรรคที่เลือก ก็มีผลไม่น้อยต่อความคิดและการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจนคือ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ซึ่งสังคมไทยมีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความคิดทางการเมืองของผู้สูงอายุโดยทั่วไปมีแนวโน้มในเชิงอนุรักษ์นิยม ให้ความสำคัญกับคุณค่าดั้งเดิมของสังคม ความมีเสถียรภาพทางสังคม และความมั่นคงปลอดภัย ผู้สูงอายุมีแน