ปรัชญาสังคมศาสตร์ พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต พิมพ์ครั้งที่ ๒ จำหน่ายที่ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเขียนหนังสือเล่มหนึ่งเป็นการเดินทางที่ผู้เขียนเองมิอาจกำหนดเนื้อหาและ จุดหมายปลายทางล่วงหน้าที่ชัดเจนได้ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอระหว่างกระบวนการเขียน จวบจนถึง ณ จุดหนึ่งของเวลาที่จำเป็นจะต้องเขียนให้จบลง ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขประการใด ก็ตาม เรื่องราวต่างๆ จึงถูกประกอบขึ้นมาเป็นรูปร่าง แต่ความท้าทายต่างๆก็ยังดำรงอยู่อย่าง ไม่จบสิ้น ในการเขียนตำราเรื่องปรัชญาสังคมศาสตร์: การอธิบายสังคม รากฐานสำหรับการวิจัย ทางสังคม ผู้เขียนได้รับทุนจากคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ การเขียนโดยรับทุนมีข้อดีที่สำคัญคือ มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนที่ผู้เขียนจะต้องเขียนให้จบ ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ต้องลงมือเขียนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางความโกลาหลของงานอื่นๆ อีกนานาประการ ภายใต้เงื่อนไขเหล่านั้นหากไม่มีเส้นปลายทางที่ชัดเจนก็อาจทำให้งานเขียน ยากแก่การบรรลุได้ เพราะว่ามีเรื่
การพัฒนาสังคมการเมืองแบบองค์รวม เชื่อมโยงมิติประวัติศาสตร์ ปรัชญา วัฒนธรรม สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และจิตวิทยา